การวิเคราะห์ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมในพื้นที่ท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม เทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ธนพัฒน์ ภคชัยวิศิษฏ์ คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ระบบ, การจัดการความปลอดภัย, ด้านอาชญากรรม, พื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ด้านสภาพแวดล้อม, ด้านชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมในพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน” ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative methodology) โดย ผลการวิจัยพบว่า สภาพพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ยังคงอัตลักษณ์วัฒนธรรมดั้งเดิม พึ่งพาตนเองได้ในทุกมิติ สำหรับปัญหาด้านอาชญากรรม พบปัญหาหรือคดีเล็กๆ เท่านั้น ด้านสภาพแวดล้อม พบพื้นที่จุดเสี่ยง จุดล่อแหลม ไฟฟ้าไม่สว่างในบางจุด และไม่พบป้ายสัญลักษณ์เตือนภัย ในด้านบุคคล พบการมั่วสุมของกลุ่มวัยรุ่น ประชากรแฝงที่ไม่เข้าใจในวัฒนธรรม และด้านนโยบาย พบขาดการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ขาดแคลนบุคลากร งบประมาณ และความไม่ต่อเนื่องด้านนโยบาย โดยระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรม ประกอบด้วยด้านการบังคับใช้กฎหมายซึ่งน้อยมาก ชุมชนดูแลกันเอง ด้านสภาพแวดล้อม มีการปรับสภาพแวดล้อมโดยการออกแบบทางกายภาพที่ดี มีการติดตั้งกล้อง CCTV เกือบสมบูรณ์ พบเพียงปัญหาไฟส่องสว่างในบางจุด และด้านชุมชนเป็นชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีส่วนร่วมและมีจิตสำนึก ในส่วนของการนำเสนอระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมประกอบด้วย 3 ด้านคือ ด้านการบังคับใช้กฎหมายควรเพิ่มสายตรวจ เพิ่มความถี่และเพิ่มช่วงเวลาออกตรวจ ด้านการป้องกันอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม ควรเพิ่มแสงสว่างในจุดล่อแหลม เช่นบริเวณบ่อบำบัดน้ำเสีย ติดตั้งป้ายสัญลักษณ์เตือนภัย กวดขันร้านค้าชุมชน และด้านชุมชน สร้างสังคมเข้มแข็ง และบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

References

1. คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560–2564. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา; 2560.
2. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. [Online]. ยุทธศาสตร์และการพัฒนาในช่วง 3 ปี พ.ศ.2551–2553. เข้าถึงได้ : http://www.thawangpha.go.th/newcenter/newcenter320140527150051.doc. (1 พฤษภาคม 2560).
3. กรมการท่องเที่ยว. [Online]. สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ จังหวัดน่าน พ.ศ.2552– 2558. เข้าถึงได้จาก : http://www.newdot2.samartmultimedia.com/home/ listcontent/11/221/276/. (1 พฤษภาคม 2560).
4. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. [Online]. สถิติการรับแจ้งและจับกุมกลุ่มคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญจำแนกตามประเภทคดีที่รับแจ้ง จังหวัดน่าน พ.ศ. 2549–2558. เข้าถึงได้จาก http://www.service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries23.html. (22 สิงหาคม 2560).
5. George, R. Tourists’ perceptions of safety and security while visiting Cape Town. Tourism Management: 2011; 24, p. 575-585.
6. สุขุมา อรุณจิต และ วุฒิพล มั่นเหมาะ. (2559). “ปัจจัยการเกิดอาชญากรรมทางเพศและแนวทางการป้องกันอาชญากรรมทางเพศตามทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม”. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 2559; 2(1): 23-34.
7. ภัทรวุฒิ อัครภัทร และ วันทนีย์ จันทร์เอี่ยม. การวิเคราะห์คุณภาพการปฏิบัติงานของตำรวจสายตรวจในการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่รับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 5. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาอีสเทิร์น; 2557.
8. มณฑล เยี่ยมไพศาล และ มานัส ศรีวณิช. ความหนาแน่นเชิงพื้นที่อาชญากรรม กรณีศึกษาเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ศึกษาตามแบบเคอร์เนล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13