การพัฒนารูปแบบการบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • อนัญญา มานิตย์ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

การบริการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดหลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ (Soukup, 2000) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลุ่มควบคุมให้การพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองให้การพยาบาลโดยใช้รูปแบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวนกลุ่มละ 114 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย สถิติทดสอบค่าที (Independent T-Test) และ Mann-Whitney U – Test ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ทิศทางและนโยบาย ระบบสารสนเทศ การปรับระบบและกระบวนการบริการ ระบบสนับสนุนการจัดการตนเอง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและจัดบริการเชื่อมโยงชุมชน 2) ผลลัพธ์ของรูปแบบการบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความรู้เรื่องโรค ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ความพึงพอใจ และคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน (p<.05) ส่วนดัชนีมวลกาย ระดับไขมันแอล ดี แอล และการทำงานของไต ไม่แตกต่างกัน (p<.05) สรุปได้ว่า รูปแบบการบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่พัฒนาขึ้น ทำให้เกิดผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยดีขึ้น ควรนำไปใช้ขยายผลในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ

References

1. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559: การบริหารงบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (บริการควบคุมป้องกันและรักษา ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด, 2558.
2. รวมพร นาคะพงษ์, นิพา ศรีช้าง, ลินดา จำปาแก้ว. แนวปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2553.
3. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โครงการการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือของประเทศ ระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก มกราคม 2560 - ธันวาคม 2564. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2561.
4. สุมนี วัชรสินธุ์, ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์, เมตตา คำพิบูลย์, อัจฉรา ภักดีพินิจ, ชาญยุทธ วิหกโต, ศกลวรรณ แก้วกลิ่น และคณะ. คู่มือการดำเนินงาน ประเมินคุณภาพ NCD Clinic Plus ปี 2560. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, 2559.
5. Soukup M. The center for advanced nursing practice evidence - based practice model. Nurs Clin North America. 35:301-9; June, 2000.
6. Polit D, Beck C. The essentials of Nursing Research. 7 ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins, 2004.
7. Hanrungchrotorn U. Factors related to the quality of life of clients with type 2 diabetes. Mueang Nakorn Pathom: Mahidol University, 2001.
8. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI) 2540 [updated 16 มกราคม 2561]; Available from: http://www.dmh.go.th/test/whoqol.
9. The Joanna Briggs Institute. Joanna Briggs Institute Reviewers’ Manual 2011 Edition. Australia: The Joanna Briggs Institute, 2011.
10. สุพัตรา ศรีวณิชชากร, สตางค์ ศุภผล, ทัศนีย์ ญาณะ, รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์, อรอนงค์ ดิเรกบุษราคม, ผการัตน์ ฤทธิ์ศรีบุญ และคณะ. การจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังกรณีเบาหวานและความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด, 2553.
11. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะเรื้อรัง. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, 2558.
12. ชลการ ชัยกุล. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.
13. วิไลวรรณ โพศรีทอง, ธนันณัฏฐ์ มณีศิลป์, พิศมัย โพธิพรรคม, งามทิพย์ ชนบดีเฉลิมรุ่ง. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยรูปแบบการจัดการรายกรณี โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารกองการพยาบาล. 39(2): 79-93; พฤษภาคม – สิงหาคม, 2559
14. วลีรัตน์ สุธนนันท์. การพัฒนาระบบบริการพยาบาล โดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรคเชิงบูรณาการและแนวคิดการจัดการผู้ป่วยรายกรณี สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เครือข่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 24(1): 96-109; มกราคม-มิถุนายน, 2556.
15. Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavior change. Psychological Reviews. 84(2): 191-215; April, 1997.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-13