ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบ OSCE และความมั่นใจในการทำหัตถการระดับที่ 1 ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพศ.ยะลา

ผู้แต่ง

  • นิดา สิมาพัฒนพงศ์ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลศูนย์ยะลา
  • รสสุคนธ์ คชรัตน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ความมั่นใจ, หัตถการ, หัตถการทางคลินิก, OSCE

บทคัดย่อ

หัตถการระดับที่ 1 ตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพของแพทยสภาเป็นหัตถการทางคลินิกที่ต้องสามารถทำได้เองสำหรับบัณฑิตแพทย์ แต่ในปัจจุบันพบว่า บัณฑิตแพทย์มีการทำหัตถการลดลงเนื่องด้วยความไม่มั่นใจ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบ OSCE และความมั่นใจในการทำหัตถการระดับ 1 ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 รพศ.ยะลา เพื่อหาว่าคะแนนสอบ OSCE มีความสัมพันธ์กับระดับความมั่นใจในการทำหัตถการของนักศึกษาแพทย์ได้หรือไม่ โดยใช้แบบสอบ ถามความมั่นใจในการทำหัตถการระดับที่ 1 ในนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 รพศ.ยะลา ในเดือนเม.ย. ปี 2561 ทั้งหมด 28 คน ก่อนเริ่มเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ โดยความมั่นใจแบ่งเป็น 3 ระดับ เปรียบเทียบกับคะแนนสอบ OSCE ในแต่ละหัวข้อหัตถการในขณะศึกษาชั้นปีที่ 4-6 หาความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ด้วยระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พบว่ามีนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 จำนวน 28 คน ตอบแบบสอบถามความมั่นใจในการทำหัตถการทั้งหมด 21 หัตถการ โดย Pap smear มีค่าคะแนน OSCE เฉลี่ยสูงสุดคือ 89.66 (SD=10.18) ส่วน Excision of benign tumor and cyst of skin & subcutaneous tissue มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ 48.00 (SD=10.30) ค่าเฉลี่ยความมั่นใจในการทำหัตถการอยู่ระหว่าง 1.64  (Postural drainage) ถึง 2.79 (Wound dressing) มีเพียง 3 หัตถการ ได้แก่ การดามเฝือกอ่อน, การทำคลอด และการทำ PAP smear ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างระดับของคะแนนสอบ OSCE กับระดับความมั่นใจของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.02, 0.04 และ 0.03 ตามลำดับ) โดยรวมคะแนนสอบ OSCE ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับระดับความมั่นใจของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ในการทำหัตถการระดับ 1 ความมั่นใจของนักศึกษาแพทย์ในการทำหัตถการขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น จำนวนครั้งที่ได้ฝึกปฏิบัติ, เป็นความมั่นใจส่วนบุคคล, ความยากง่ายของข้อสอบ อีกทั้งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงสาเหตุของการมีความมั่นใจต่ำในบางหัตถการ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขต่อไป

References

1. ประกาศแพทยสภาที่ 12/2555 เรื่องเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2555.
2. Jooong HS, Yang FAA, Azura M, et al. Students’ performance in the different clinical skills assessed in OSCE: what does it reveal?. Med Educ Online 2015; 20: doi: 10.3402/meo.v20.26185.
3. Marel GM, Lyon PM, Barnsley L, et al. Clinical skills in early postgraduate medical trainees: patterns of acquisition of confidence and experience among junior doctors in a university teaching hospital. Med Educ 2000; 34 (12): 1013-5.
4. Karim JA, Marwan YA, Dawas AM, Akhtar S. Self-confidence of medical students in performing clinical skills acquired during their surgical rotation. Assessing clinical skills education in Kuwait. Saudi Med J 2012; 33(12): 1310-6.
5. Khanasuk Y, Sastravaha N, Atiprayoon S, A Suraporn, T Worasun, P Phoonyathorn. Confidence in Orthopedic Procedures among Burapha University Medical Students. BJM 2016; 3(2): 3-9.
6. Dehmer JJ, Amos KD, Farrell TM, Meyer AA, Newton WP, Meyers MO. Competence and confidence with basic procedural skills: the experience and opinions of fourth-year medical students at a single institution. Acad Med 2013; 88(5): 682-7: doi: 10.1097/ACM.0b013e31828b0007.
7. Morgan PJ, Cleave-Hogg D. Comparison between medical students' experience, confidence and competence. Med Educ 2002; 36(6): 534-9.
8. Nimmaanrat S. Confidence of medical students performing endotracheal intubation and spinal anesthesia and accuracy of their practices. Songkla Med J 2013; 31(3): 137-143.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-20