การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการเรียนกับทัศนคติการทำงาน ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • อติญาณ์ ศรเกษตริน วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • อัจฉราวดี ศรียศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • รุ่งนภา จันทรา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • สุทธานันท์ กัลกะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • ปริญญา จิตอร่าม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สุพรรณบุรี
  • สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรค์ประชารักษ์ นครสรรค์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการเรียน, ทัศนคติ, สหสาขาวิชาชีพ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทัศนคติการทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ และหาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับทัศนคติการทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 3 และชั้นปี 4 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 174 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแรงจูงใจในการเรียน และแบบวัดทัศนคติการทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล 4 ด้าน คือ ด้านการเรียนรู้ ด้านการปฏิบัติงานร่วมกัน ด้านการสื่อสาร และด้านบทบาทในวิชาชีพ แบบสอบถามผ่านการหาความตรงเชิงเนื้อหาด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง พบว่าทุกข้อมีค่ามากกว่า 0.66 นำไปทดลองใช้ พบว่ามีค่าความเที่ยงเท่ากับ .76 และ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่านักศึกษาพยาบาล ชั้นปี 2 – 4 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรีมีทัศนคติการทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก(Mean = 4.09, SD = .71) และแรงจูงใจในการเรียนมีความสัมพันธ์ระดับต่ำ กับทัศนคติการทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=0.41, p<0.01)  ดังนั้นวิทยาลัยควรส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกเกี่ยวกับการทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ และควรให้มีกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทัศนคติต่อการทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ

References

1. วณิชา ชื่นกรองแก้ว. การศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี เอ ลิฟวิ่ง จำกัด; 2557.
2. สุณี เศรษฐเสถียร. รูปแบบการเรียนแบบสหสาขาวิชาชีพ ณ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารเวชศาสตร์ฟื้นฟู, 2558; 25: 65-70.
3. โสภณ เมฆธน. แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559.
4. เจษฎา โชคดำรงสุข. สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข,[เข้าถึงเมื่อ 2 กันยายน 2561] เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/all/04/117008/.
5. ธีรพร สถิรอังกูร. การศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี เอ ลีฟวิ่ง จำกัด; 2561.
6. กรชกร รักรุ่ง และคณะ. ความพร้อมในการเรียนการสอนแบบสหสาขาวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฎร์ธานี. รายงานวิจัย สุราษฎร์ธานี; 2560.
7. อนัญญา คูอาริยะกุล. เจคติต่อวิชาชีพพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 2555, 6: 18-26.
8. McClelland, D. C.Theachievement motive. New York: Appleton Century Crotts.Inc; 1953.
9. Rabideau,T.S. Effects of achievement motivation on behavior (Internet). 2005 (cited 2011 Apr 17). Available from: http://www.personalityresearch.org.
10. Yamane, Taro. Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York: Harper and Row; 1967.
11. ศรัณย์ รื่นณรงค์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. 2553.
12. McFADYEN. Interprofessional attitudes and perceptions: Results from Longitudinalcontrolled trial of pre-registration health and social care students in Scotland. 2010.
13. ศกุนตลา อนุเรือง, ลออวรรณ อึ้งสกุล และวิภาวี พลแก้ว. ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการทำงานบริการสุขภาพกับผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ชั้นปีที่2-4) ปีการศึกษา 2551 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา.รายงานการวิจัย; นครราชสีมา, 2552.
14. Maslow, A. Motivation and personality. 2nded. New York: Harpes & Row Publishers; 1970.
15. Roger, C. On becoming a Person: A therapist’s view of psychotherapy. Boston: Houghton Miffin; 1979.
16. Rosenberg, M. conceiving the self. New York: basic Books; 1979.
17. ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล และเปรมฤดี บริบาล. ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 2555; 22: 98-108.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-20