กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนนาโปใหญ่ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • ขวัญรัตน์ บัววิชัยศิลป์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • อรุณ บุญสร้าง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การทำงานเป็นทีมในชุมชน, การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนนาโปใหญ่ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหารทำการศึกษาในกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการดูแลผู้สูงอายุ คือ ผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน และภาคีเครือข่าย จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในครั้งนี้ มี 8 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ศึกษาบริบทและสภาพปัญหา (2) คืนข้อมูลจากการศึกษา (3) ประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อจัดทำแผน (4) ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ (5) สังเกตการณ์การมีส่วนร่วม (6) ประเมินผล (7) จัดเวทีถอดบทเรียน และ (8) ทดสอบกระบวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม ผลปรากฏว่า ในการพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) การวางแผนแบบมีส่วนร่วม (2) การดำเนินงานของภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง และ (3) การติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลการดำเนินงานตามขั้นตอนดังนี้ การมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับมาก และได้กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วย (1) Nonstop health care คือ การที่ชุมชนไม่หยุดดูแลสุขภาพ (2) Action plan of community health care คือ การปฏิบัติตามแผนงานการดูแลสุขภาพของชุมชน (3) Participation of health network คือ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพชุมชน และ (4) Observation and assessment คือ การสังเกตการณ์และการประเมินผลการดำเนินกิจกรรม โดยสรุป ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนครั้งนี้ คือ การให้ความสำคัญและสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลโดยเครือข่ายในพื้นที่และกลุ่มผู้สูงอายุเองที่ได้รับผลกระทบ ให้มีความรับผิดชอบในประเด็นปัญหานี้และมีจิตสำนึกว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน

References

1. สํานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ (สทส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. หนุนแปลงแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฯ สู่การปฏิบัติเผยจํานวนผู้สูงอายุเพิ่มต่อเนื่อง คาดอีก 20 ปีพุ่ง 17 ล้านคน. [ออนไลน์]. 2561. แหล่งที่มา: http://www.msociety.go.th/news_detail.php?newsid=5627 [สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561]
2. นีลเส็น (ประเทศไทย). รายงาน New Age of Thais ชนะใจ ชนะที่จุดขาย กลยุทธ์ รับมือสังคมสูงวัย. [ออนไลน์]. 2559. แหล่งที่มา: www.nielsen.com [สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2561].
3. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557.กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2559.
4. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการตรวจราชการกระทรงสาธารณสุขและนิเทศงานกรมอนามัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. [ออนไลน์]. 2561. แหล่งที่มา: http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/files/Handbook_Eva_260161.pdf [สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561].
5. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงสาธารณสุข; 2554.
6. สำนักงานสถิติจังหวัดมุกดาหาร. [ออนไลน์]. 2561. แหล่งที่มา:http://pobearz.blogspot.com/2011/08/blog-post.html [สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561].
7. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมุกดาหาร. งานส่งเสริมสุขภาพ. มุกดาหาร: กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมุกดาหาร; 2559.
8. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร. งานส่งเสริมสุขภาพ 2557. มุกดาหาร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร; 2557.
9. Kemmis, S & McTaggart, R. The Action Research Planer. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988
10. เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัด เชียงใหม่. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.
11. กานต์รวี กอบสุข. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านโคกบรรเลง ตำบลบุฤาษี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์) มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสาคาม; 2554.
12. วิลาวัณย์ รัตนา. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการสนับบสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผูสูงอายุ ชมรมผูสูงอายุโรงพยาบาลสุราษฎรธานี. (วิทยานิพนธ์) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2552.
13. พรรณี สนเทศ. การดูแลผู้สูงอายุในระดับครอบครัวบ้านศรีดงเค็ง ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์) เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย; 2550.
14. สรัลรัตน์ พันธ์สินทวีสุข. การพัฒนาความสามารถการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านผือ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์) ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
15. สมคิด สันวิจิตร. (2548). การสร้างการบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. (วิทยานิพนธ์) ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.
16. เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ, ปนัดดา ปริยฑฤฆ และญานิศา โชติกะคาม. กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมชุมชนตำบล มาบแค. วารสารพยาบาลทหารบก 2555; 13(2): 5-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-20