การคัดกรองเพื่อป้องกันอุบัติการณ์โรคเบาหวานที่มีประสิทธิผล มุมมองประชาสังคม จังหวัดเลย ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธราพงษ์ กัปโก โรงพยาบาลภูหลวง อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
  • ยอดลักษ์ สัยลังกา โรงพยาบาลหนองหิน อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย
  • ระพีพรรณ จันทร์อ้วน โรงพยาบาลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
  • บุญมา สุนทราวิรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

คำสำคัญ:

การคัดกรองเบาหวาน, มุมมองประชาสังคม, สังคม ประสิทธิภาพการป้องกันอุบัติการณ์โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคัดกรองเพื่อการป้องกันอุบัติการณ์โรคเบาหวานที่มีประสิทธิผล: มุมมองประชาสังคม กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบกลุ่มหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึก เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Kruskal-Wallis Test และ One-Way ANOVA ยืนยันความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ Turkey เสนอผลต่อภาคประชาสังคมในเวทีสนทนากลุ่มเพื่อสังเคราะห์มุมมองประชาสังคม เก็บข้อมูลระหว่างตุลาคม 2560–เมษายน 2562ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายมีความแตกต่างกัน (F=9.983, p-value< 0.001) ค่าปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดมีความแตกต่างกัน (F=9.983, p-value< 0.001) และอุบัติการณ์ของเบาหวานมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ (F=22.792, p-value< 0.001) อีกทั้งยังแตกต่างกันในแต่ละปี โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มุมมองภาคประชาสังคม กระบวนการป้องกันและการคัดกรองเบาหวานที่ผ่านมา มีประสิทธิผลไม่ทัดเทียมพลวัตวิถีชีวิตสุขภาพที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว อุบัติการณ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ควรมีกระบวนการคัดกรองและป้องกันที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทพื้นที่และบุคคล 

References

1. International Diabetes Federation: IDF. 2019. Achieve from: https://www.idf.org in 15/05/2019
2. World Health Organization: WHO. 2019. Achieve from: https://www.who.int in 15/05/2019
3. กระทรวงสาธารณสุข. 2562. สืบค้นจาก: http://www.moph.go.th/hdc/ เมื่อ 15 พฤษภาคม 2562
4. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี. บริษัทร่มเย็นมีเดียจำกัด; 2560.
5. ฉวีวรรณ บุญสุยา. ประมวลสาระชุดวิชาสถิติและระเบียบวิธีวิจัยในงานสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2544.
6. ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้งติ้ง; 2552.
7. กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข.2562. สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/th/site/indexเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562.
8. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. 2562. ฐานข้อมูล Health Data Centre: HDC. สืบค้นจาก: https://www.lo.moph.go.th/main2015/ เมื่อ 25 พฤษภาคม 2562.
9. เพชรรัตน์ เกิดดอนแฝก และคณะ. การรับรู้ความเสี่ยง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานตามเกณฑ์และวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพในญาติสายตรงลำดับแรกของผู้ที่เป็นเบาหวาน. Rama Nurse Journal. ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2553; 169-184.
10. โรงพยาบาลหนองหิน. 2562. ฐานข้อมูล Hos-XP PCU. เมื่อ 29 พฤษภาคม 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-20