การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสุขภาวะในจังหวัดมุกดาหาร โดยใช้กระบวนการเทียบระดับ
คำสำคัญ:
การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสุขภาวะ, กระบวนการเทียบระดับบทคัดย่อ
“โรงเรียนสุขภาวะ” เป็นการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน เนื่องจากที่ผ่านมาเรามุ่งพัฒนาโรงเรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ยึดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นหลัก จนมองข้ามสิ่งที่เราต้องการ “พลเมืองที่มีความสุขทั้งมิติของกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ มีวิถีชีวิตที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและสังคมและมีความสามารถเชิงการแข่งขันในเวทีโลกได้ ซึ่งจะเป็นการศึกษาที่สามารถรับมือความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 เป้าหมายของโรงเรียนสุขภาวะเพื่อสร้างให้ผู้เรียนเป็นสุข องค์กรเป็นสุข สภาพแวดล้อมเป็นสุข ครอบครัวเป็นสุขและชุมชนเป็นสุข โดยการปรับสภาพแวดล้อม ลดปัจจัยเสี่ยง จัดโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ให้โรงเรียน สภาพแวดล้อม ครอบครัว และชุมชนเป็นพื้นที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาวะของผู้เรียนทั้งด้านกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณและปัญญา ผลการพัฒนาโรงเรียนสุขภาวะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางโรงเรียนสุขภาวะนี้ สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเริ่มต้นจากเปิดใจนำไปสู่การปรับแนวคิดผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และชุมชนให้หันมาร่วมมือกัน ตั้งเป้าหมายร่วมกันและดำเนินการอย่างมุ่งมั่น ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยนำรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ทำจนเกิดผลดีมาแล้วและมีผลการวิจัยสนับสนุน สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของแต่ละโรงเรียน โดยร่วมมือกันดำเนินการทั้งโรงเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในโรงเรียนจนเป็นวิถีของโรงเรียน ผลคือประสบความสำเร็จในการทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขแล้ว ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชนก็ได้รับความสุขจากทำงานหนักในเปลี่ยนแปลงโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการภาคภูมิใจ โดยสะท้อนให้เห็นได้จากการที่นักเรียน ๆ ได้เรียนรู้ในสิ่งที่อยากเรียน มีความสนุกสนานตามวัยในขณะเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียน กล้าแสดงออกในสิ่งที่แตกต่างจากเพื่อน มีความไว้วางใจที่มีต่อครูมากขึ้นกว่าก่อน นักเรียน มีความสุขในการเรียนรู้ ในขณะที่ครูใจเย็นลงยอมรับฟังนักเรียนอย่างตั้งใจ ผลสะท้อนกลับที่สำคัญในโรงเรียนสุขภาวะคือ ผู้เรียนมีความสุข ทำให้ครูมีความสุขเกิดกำลังใจและแรงผลักที่จะพัฒนาผู้เรียน กลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และชุมชนพึงพอใจ จากการประเมินโรงเรียนสุขภาวะของโรงเรียนบ้านโนนสังข์ศรี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ด้วยเกณฑ์การเทียบระดับของโรงเรียนสุขภาวะคะแนนที่ได้จะถูกนำไปใช้เพื่อการพัฒนาโรงเรียนให้มีความเป็นเลิศร่วมกัน โดยตัวชี้วัดที่ได้คะแนนน้อยโรงเรียนต้องไปเรียนรู้วิธีการพัฒนาจากโรงเรียนอื่นที่อยู่ในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนสุขภาวะ ตัวบ่งชี้ที่ได้คะแนนระดับดีเยี่ยมโรงเรียนจะพัฒนาขั้นตอนการดำเนินงานให้เป็นแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อให้โรงเรียนอื่นในเครือข่ายโรงเรียนสุขภาวะมาเรียนรู้กระบวนการและนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาโรงเรียนของตนเองต่อไป
References
2. สุนีย์ ภู่พันธ์. แนวคิดพื้นฐาน ฐานการสร้างและพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่:
เดอะโนว์เลจเซ็นเตอร์; 2546.
3. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. โครงการยุววิจัยกระทูนกอนและหลังภูเขากลุ่มของโรงเรียน ชุมชนวัดกะทูนเหนือมิตรภาพที่ 2. Retrieved October 14, 2554, from http://www.ysl-history.com/Research_download/3Research.../N8.doc
4. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องตน.
พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน; 2546.
5. ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. การพัฒนาหลักสูตร: หลักการแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
อสีนเพรส; 2539.
6. สมชาย วางหา. การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบานใหม อําเภอวังชิ้นจังหวัดแพร. (วิทยานิพนธ์)อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ; 2550.
7. วัลลภ กันทรัพย์. Basic needs ของโรงเรียน. วิจัยสารสนเทศ 2529, 12(136): 8.
8. สมใจ แรงสิงห์. การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์) เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.
9. สมทรง สิทธิ. การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
การวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2555, 18(1): 31–43.
10. สุรพล ธรรมร่มดี, ทัศนีย์ จันอินทร์ และคงกฤช ไตรยวงค์. อาศรมศิลป์วิจัย: การวิจัยและพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ แนวจิตตปัญญา. โครงการเอกสารวิชาการการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ลำดับที่ 8. นครปฐม:
เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด; 2553.