การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโนนเปือย อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สุปราณี บุญมี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุพิตรา เศลวัตนะกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, การดูแลผู้สูงอายุ, เครือข่ายชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโนนเปือย อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุและเป็นเครือข่ายชุมชน เลือกมาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 114 คนและดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในครั้งนี้ มี 8 ขั้นตอน ได้แก่ (1)  ศึกษาบริบทและสภาพปัญหา (2)  คืนข้อมูลจากการศึกษา (3) ประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อจัดทำแผน (4) ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ (5) สังเกตการณ์การมีส่วนร่วม (6) ประเมินผล (7) จัดเวทีถอดบทเรียนและ (8) ทดสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม ผลปรากฏว่าในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) การวางแผนแบบมีส่วนร่วม (2) การดำเนินงานของภาคีเครือข่ายเข้มแข็งและ (3) การติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานตามขั้นตอน พบว่าการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอยู่ในระดับมาก และด้านความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก โดยสรุป ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนครั้งนี้ คือ 1) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพ 2) การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้สูงอายุ และ 3) ความต่อเนื่องในการดำเนินงานและการดูแล

References

1. ประพันธ์ พงศ์คณิตานนท์. สัมภาษณ์. ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรมการแพทย์:กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
2. วิพรรณ ประจวบเหมาะ. รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย; 2555.
3. วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. คู่มือการดูแลสุขภาพ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย; 2553.
4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโนนเปือย. งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ 2558. สุรินทร์: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโนนเปือย; 2558.
5. Kemmis, S. and McTaggart, R. Communicative Action and the Public Sphere. The Sage Handbook of Qualitative Research; 2005.
6. เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.
7. กานต์รวี กอบสุข. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านโคกบรรเลง ตำบลบุฤาษี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
8. สรัลรัตน์ พันธ์สินทวีสุข. การพัฒนาความสามารถการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านผือ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
9. สมคิด สันวิจิตร. การสร้างการบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.
10. เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ, ปนัดดา ปริยฑฤฆ และญานิศา โชติกะคาม. กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมชุมชนตำบลมาบแค. วารสารพยาบาลทหารบก; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-15