ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานสาธารณสุขของสาธารณสุขอำเภอ ในจังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ไชยพัทธ์ ภูริชัยวรนันท์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วรางคณา จันทร์คง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การรับรู้อำนาจหน้าที่, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การบริหารงานสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้อำนาจหน้าที่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสาธารณสุขอำเภอ และการบริหารงานสาธารณสุขของสาธารณสุขอำเภอ และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้อำนาจหน้าที่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสาธารณสุขอำเภอกับการบริหารสาธารณสุขของสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี ประชากรที่ศึกษา จำนวน 158 คน ประกอบด้วยสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 13 คน และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 145 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) การรับรู้อำนาจหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสาธารณสุขอำเภอ การปฏิบัติด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสาธารณสุขอำเภอ และการบริหารสาธารณสุขของสาธารณสุขอำเภอ อยู่ในระดับมาก และ (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานสาธารณสุขของสาธารณสุขอำเภออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ได้แก่ การรับรู้อำนาจหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสาธารณสุขอำเภอ (p<0.001) และระดับการศึกษา (p<0.05) ข้อเสนอแนะ (1) ด้านนโยบาย ควรให้สาธารณสุขอำเภอสามารถบริหารจัดการด้านบุคลากร งบประมาณและพัสดุ การทำแผนยุทธศาสตร์ได้ (2) ด้านการนำไปสู่การปฏิบัติ สาธารณสุขอำเภอควรมีการส่งเสริม สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม งานวิจัย และการใช้เทคโนโลยี มีการบริหารงานธุรการและงานสารบรรณโดยใช้หลักธรรมาภิบาล มีการบริหารงานเชิงกลยุทธ์แบบมุ่งสัมฤทธิ์  มีการประสานงานกับภาคีเครือข่าย  มีการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน มีการเยี่ยมเสริมพลังและให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่  และมีการมอบอำนาจการบริหารให้แก่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

References

1. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) พ.ศ. 2560 – 2579. สืบค้นวันที่ 25 ตุลาคม 2561 จาก http://bps.moph.go.th/new_bps
/Public_Document
2. คณะทำงานวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารงานสาธารณสุขในอำเภอ เขตสุขภาพที่ 5. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานสาธารณสุขในอำเภอเขตสุขภาพที่5. เพชรบุรี: อาลีก๊อปปี้เซ็นเตอร์; 2560.


3. กรมการปกครอง.กระทรวงมหาดไทย “ประกาศสำนักทะเบียนกลางกรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรแยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 “(ออนไลน์)
4. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, ม.ป.ป.
5. บรรยงค์ โตจินดา. การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น; 2543.
6. ปิยรัตน์ วัฒนา. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย การเรียนรู้ตลอดชีวิต กับการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
7. พรพรรณ ระวังพันธุ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะหลักของสาธารณสุขอำเภอในภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี; 2551
8. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. ประมวลสาระชุดวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข สำหรับผู้บริหารสาธารณสุข. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช; 2544.
9. รุ้ง จันทะวงศ์. สมรรถนะด้านการบริหารงานสาธารณสุขของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี; 2555.
10. ลักขณา สริวัฒน์. การคิด. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2549.
11. วิเชียร เกตุสิงห์. หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพฯ : เรือนอักษร; 2530.
12. วิภาพร มาพบสุข. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ; 2540.
13. สงวน นิตยารัมภ์พงศ์. ทิศทางปฏิรูปบริการสุขภาพไทย. นนทบุรี: สำนักงานโครงการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ; 2543.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-15