ผลการรักษาและความปลอดภัยของอาการที่พบร่วมกับหลอดเลือดดำขอดบริเวณขา ด้วยตำรับน้ำมันกาสลัก ณ โรงพยาบาลกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • นพวรรณ บานชื่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ไพรวัลย์ โคศรีสุทธ์ โรงพยาบาลกาบเชิง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
  • วรวรรณ กอปรกิจงาม โรงพยาบาลกาบเชิง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
  • ธวัชชัย กมลธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ผลการรักษาและความปลอดภัย, ระดับความรุนแรง, อาการที่พบร่วมกับหลอดเลือดดำขอด, ตำรับน้ำมันกาสลัก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของอาการที่พบร่วมกับหลอดเลือดดำขอดบริเวณขาก่อนและหลังการรักษาด้วยตำรับน้ำมันกาสลัก และศึกษาอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31 คน รับการรักษา ณ กลุ่มงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน พ.ศ.2561 โดยทาตำรับน้ำมันกาสลักบริเวณขาที่มีหลอดเลือดดำขอด ครั้งละ 5 หยด (เช้า กลางวัน เย็น) ติดตามผลหลังการรักษา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired sample T-test ลักษณะทางคลินิกของหลอดเลือดที่พบ คือ Telangiectasia จำนวน 13 คน (ร้อยละ 41.94) Reticular vein จำนวน 16 คน (ร้อยละ 51.61) และ Varicose Vein จำนวน 2 คน (ร้อยละ 6.45) ผลก่อนการรักษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอาการเมื่อยเล็กน้อย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.16 มีอาการปวดหน่วง บวม ตะคริว คันและชาในระดับไม่รุนแรง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.68, 0.58, 0.13, 0.36, 0.55 ตามลำดับ ผลหลังการรักษา 4 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอาการเมื่อยเล็กน้อย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.94 มีอาการปวดหน่วง บวม ตะคริว คันและชาในระดับไม่รุนแรง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.45, 0.29, 0.07, 0.10, 0.48 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของอาการที่พบร่วมกับหลอดเลือดดำขอดบริเวณขาก่อนและหลังการรักษา 4 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอาการคัน บวมและปวดหน่วง ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยไม่พบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ร้อยละ 100 ผลการวิจัยที่สำคัญ คือ เมื่อทาตำรับน้ำมันกาสลักบริเวณขาที่พบหลอดเลือดดำขอดอย่างต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ ช่วยบรรเทาอาการคัน บวมและปวดหน่วงได้

References

1. Ali Esmail Al-Snafi, (Prof Dr). Medical importance of Datura fastuosa (syn:Datura metel) and Datura stramonium - A review. IOSR Journal Of Pharmacy 2017; Volume 7 Issue 2 Version.1: 43-58
2. Ange Antoine Abena et al. Neuropsychopharmacological Effects of Leaves and Seeds Extracts of Datura fastuosa. Biotechnology 2004; Vol.3 Issue 23: 109-113.
3. Eberhard RABE and Felizitas PANNIER. What have we learned from the Bonn Vein Study?. PHLEBOLOGY 2006; Volume 13 Number 4: 188-194
4. F. Charles Brunicardi et.al. Schwartz’s PRINCIPAL OF SURGERY. 10thed. New York: McGraw Hill Medical 2015.
5. Feuangfoo F. and et.al. Chronic Venous Insufficiency in Occupational Medicine. Royal Thai Army Medical Journal 2017; Vol.70-2: 97-104
6. Françoise PITSCH. Results from detection surveys on chronic venous disease in Eastern Europe. PHLEBOLOGY 2010; Volume 17 Number 2: 95-98
7. Ganesh. S, Radha. R, Jayshree N. A Review on Phytochemical and Pharmacological status of Datura fastuosa Linn. International Journal of Multidisciplinary Research and Development 2015; Volume 2 Issue 4 : 602-605
8. Issaravanich S. Rungsihirunrat K. and Ruangrungsi N. Microscopic, Molecular and Scopolamine Content Evalutions of Datura Metel L. VAR. Metel and Datura Metel L. VAR. Fastuosa. [Internet]. 2012 [cited 2018 January 23].Chulapedia. Available from: https://bit.ly/2JULbNZ.
9. Kaewchoothong A. Preparation and quality control of Zingiber cassumunar extract with high-yielded anti-inflammatory active compounds [Thesis Master Degree of Science]. Songkla: Songkla University; 2009.
10. Kraivaphan N. Subject of Pharmacology for Medical Students : Lessons 3 Antimuscarinic drugs [Internet]. N.d. [cited 2018 November 7]. CMU medicine pharmacology. Available from: http://www.med.cmu.ac.th/dept/pharmaco/pharmacology/Lesson03/03.htm
11. Leekaew P. Datura metel L.: Poisonous Ornamental plants [Internet]. 2015 [cited 2018 November 7]. Mahidol University Faculty of pharmacy; Knowledge Articles. Available from: https://bit.ly/2VM6Mvm.
12. Leelaudomlipi S. and et.al. Preminary Report: Initial Experience of Endovascular Laser Therapy for Varicose Veins Due To Greater Saphenous Vein Incompetence in Thailand. J Med Assoc Thai; Vol. 88 No.4: 473-477
13. Loathong N. and et.al. Varicose Vein treatment (Endo Venous Laser). Royal Thai Army Medical Journal 2007; Vol. 60 Supplement (1): 210-211
14. Michael A. Vasqze and Carolyn E. Munschauer. Venous Clinical Severity Score and quality-of-life assessment tools: application to vein practice. PHLEBOLOGY 2008; Volume 23: 259-275
15. Rajiv Mallick et.al. Treatment Patterns and Outcomes in Patients with Varicose Veins. American Health & Drug Benefits 2016; Volume 9 Number 8: 455-464
16. Ronald Melzack. The short-form McGill Pain Questionnaire. Elsevier Science Publishers B.V. 1987; Volume 30:191-197

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-04