ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพต่อการป้องกันโรคอ้วนของ นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • จิรนันท์ ช่วยศรีนวล คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สมเกียรติยศ วรเดช คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางสุขภาพ, โรคอ้วน, เด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพต่อการป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาตอนปลายที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 374 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความฉลาดทางสุขภาพต่อการป้องกันโรคอ้วนมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นครอนบาชแอลฟา ด้านความรู้ความเข้าใจ พฤติกรรมสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูล การสื่อสาร การจัดการเงื่อนไข การรู้เท่าทันสื่อ และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติเท่ากับ 0.76 0.82 0.74 0.79 0.79 0.82 และ 0.52 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยโลจิสติกพหุตัวแปร ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านเพศ (OR =1.92, 95CI: 1.19 - 3.10) อายุ (OR = 2.91, 95% CI: 1.68 - 5.01) และระดับผลการเรียน (OR = 3.64, 95% CI: 1.77 - 7.51) มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพต่อการป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาบุคลากรสาธารณสุขและครูควรกำหนดนโยบายและจัดกิจกรรมส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาพ โดยเฉพาะด้านการสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ และการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ นอกจากนี้ควรเน้นกิจกรรมในกลุ่มนักเรียนหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี และผลการเรียนไม่ค่อยดีและพอใช้ เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาพต่อการป้องกันโรคอ้วนต่อไป

References

1. World Health Organization. Taking Action on Childhood Obesity Report. World Obesity Federation London. [Internet] 2018 [cited 2018 June 18]; Available form: https://www. who.int/end-childhood-obesity/publications/taking-action-childhood-obesity
2. ปริยาภรณ์ มณีแดง. บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในการป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560, 35 (4), 16-24.
3. นิตยา พันธุเวทย์ และนุชรี อาบสุวรรณ. ประเด็นรณรงค์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค: กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เนต] 2561 [สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2561]. จาก https://www.thaincd/document/hot%20news/diabetes.pdf
4. World Economic Forum. The Global Burden of Non-communicable Diseases.2011 September. [Internet] 2018 [cited 2018 June 18]; from: apps whoint/medicinedocs/documents/s18806en/s18806en.pdf
5. ชินตา เตชะวิจิตรจารุ. ความรอบรู้ทางสุขภาพ: กุญแจสำคัญสู่พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์สุขภาพที่ดี. วารสารพยาบาลทหารบก 2561; 19 (พิเศษ), 1-11.
6. National Assessment of Adult Literacy [NALL]. The Health Literacy of American Adults Results from the 2003. Washington, DC 2006: National Assessment of Adult Literacy. (1-2)
7. Nutbeam, D. Health Literacy as a Public Health Goal: a Challenge for Contemporary Health Education and Communication Strategies into Health 21st Century. Health Promotion International 2000; 15 (8), 259-267.
8. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. พัฒนาการของเด็กวัยเรียน 6 – 12 ปี. [อินเตอร์เนต] 2552 [สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2560]; จาก https://gotoknow.org/posts/305008
9. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือนักจัดการน้ำหนักเด็กวัยเรียน Smart Kids Coacher. นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์; 2559.
10. อังศินันท์ อินทรกำแหง. รายงานการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร; 2560.
11. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การประเมินและการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2558.
12. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์อ้างอิง น้ำหนักส่วนสูง และเครื่องชี้วัดภาวะโภชนาการของประชาชนไทย.นนทบุรี. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2542.
13. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนไทยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. กรุงเทพฯ : กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เนต] 2557 [สืบค้นเมื่อ 15 กรกฏาคม 2561]; จาก http://www.hed.go.th/linkHed/361
14. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2559.
15. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. สมองหญิงแตกต่างจากชายจริงหรือ, บทความด้านสุขภาพจิต. [อินเตอร์เนต] 2549 [สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561]; จาก https//www.dmh. go.th /news/view.asp?id=1029
16. Shih, S., Liu, C., Liao, L. and Osborne, R.H. Health Literacy and the Determinants of Obesity: a Population-base Survey of Six Grade School Children in Taiwan. BMC Public Health. 2016; 16(280), doi: 10.1186/s12889-016-2879-2.1-8
17. Iman, S and Thomas J. Nemours/Alfred I. Relationship between Child Health Literacy and body Mass Index in Overweight Children. NIH Public Access Author Manuscrip. 2010 79 (1): 43-48. doi: 10.1016/j.pec.2009.07.035
18. กุสุมา แก้วหล้า. การศึกษาเปรียบเทียบความฉลาดทางสุขภาพในเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย และจังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์; 2560.
19. Lam, L.T. and Yang, L. Is Low Health Literacy Associated With Overweight and Obesity in Adolescent: an Epidemiology Study in a 12-16 Year Old Population, Nanning, China 2012, BioMed Central. 2014 72 (1) 11 doi: 10.1186/2049-3258-72-11.
20. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือการจัดกิจกรรมเรียนรู้สุขบัญญัติแห่งชาติ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : นิวธรรมดาการพิมพ์; 2560.
21. ศิริวรรณ ชอบธรรมสกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการวิจัย. 2562, 8(1), 116-123.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-04