ลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใส่ท่อช่วยหายใจ ของผู้ป่วยโรคปอดบวมที่รักษาในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สิริพงษ์ แทนไธสง มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรฤทธิ์ พิสุทธิมาน โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

ระบาดวิทยา, โรคปอดบวม, ใส่ท่อช่วยหายใจ, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบมีกลุ่มควบคุม (Analytical Case – Control Study) เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใส่ท่อช่วยหายใจของผู้ป่วยโรคปอดบวมที่รักษาในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบคัดลอกข้อมูล จากเวชระเบียนของผู้ป่วย 924 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 462 คน ได้แก่ กลุ่มศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคปอดบวมที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจชนิด Endotracheal tube (ET tube) และกลุ่มควบคุมคือ ผู้ป่วยโรคปอดบวมที่ไม่ได้รับการใส่ ET tube แต่ให้การบำบัดรูปแบบอื่น วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีถดถอยพหุลอจิสติก นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่น 95% ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value £ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคปอดบวมที่ใส่ ET tube เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.36 อายุมากกว่า 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 66.02 ผู้ป่วยส่วนมากป่วยและเข้ารับการรักษาในฤดูฝน ร้อยละ 45.23 และฤดูหนาว ร้อยละ 33.77 เกือบทั้งหมด ร้อยละ 80.74 อาศัยอยู่นอกเขตอำเภอเมือง และผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลได้พบว่า ระดับการศึกษา (ORadj=1.58, 95%CI:1.07-2.33) เขตที่อยู่อาศัย (ORadj=3.24, 95%CI:2.36-4.44) ประวัติเคยนอนรักษาที่โรงพยาบาล (ORadj=1.43, 95%CI:1.01-2.00) การตรวจพบเชื้อก่อโรค (ORadj=2.93, 95%CI:2.01-4.26) การมีโรคประจำตัว (ORadj=2.12, 95%CI:1.48-3.03) ประวัติการสูบบุหรี่ (ORadj=1.86, 95%CI:1.17-2.94) เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใส่ ET tube อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับค่า p= 0.019, <0.001, 0.041, <0.001, <0.001, และ 0.008 ตามลำดับ นอกจากนั้นยังได้พบว่า ปัจจัยอาชีพ และระยะเวลาตั้งแต่ป่วยมีอาการจนมาถึงโรงพยาบาลตั้งแต่ 48 ชั่วโมงขึ้นไป เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใส่ ET tube ในลักษณะป้องกันที่ ORadj=0.70 (95%CI:0.50-0.99, p=0.042) และ ORadj=0.64 (95%CI:0.47-0.83, p<0.001) ตามลำดับ ดังนั้น การให้ความสำคัญและเอาใส่ใจเป็นพิเศษในผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ อาศัยอยู่นอกเขตอำเภอเมือง มีระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยม เคยมีประวัติเคยนอนรักษาที่โรงพยาบาลมาก่อน มีโรคประจำตัว เป็นคนสูบบุหรี่ และป่วยเป็นโรคปอดบวมในฤดูหนาวหรือฤดูฝนมาถึงโรงพยาบาลช้าเกิน 48 ชั่วโมงขึ้นไป อาจช่วยลดการใช้ ET tube ลงได้

References

1. World Health Organization. Pneumonia [online] 2016 [cited 2018 Sep 8]. Available from: http://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/pneumonia.
2. มนะพล กุลปราณีต. ปอดอักเสบในผู้มีภูมิคุ้มกันผิดปกติที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวี (Pneumonia in the Immunocompromised, Non-HIV). ใน: นิธิพัฒน์ เจียรกุล, บรรณาธิการ. ตำราโรคระบบการหายใจ: ให้ระบบการหายใจ ปลอดภัยจากโรค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย; 2551. หน้า 303-319.
3. Peto L, Nadjm B, Horby P, Ngan TTD, Doorn RV., Kinh NV, et al. The Bacterial Aetiology of Adult Community-Acquired Pneumonia in Asia: a Systematic Review. Oxford Journals 2014; 108(6): 326-337.
4. วิภา รีชัยพิชิตกุล. ปอดอักเสบชุมชน (Community–Acquired Pneumonia). ใน: นิธิพัฒน์ เจียรกุล, บรรณาธิการ. ตำราโรคระบบการหายใจ: ให้ระบบการหายใจ ปลอดภัยจากโรค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย; 2551. หน้า 263-285.
5. Eckman M, Labus D, Nale P. Disease & drug consult: Respiratory disorders. China: The Organization; 2010.
6. งานจัดการสารสนเทศ กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์. สรุปรายงานสาเหตุการป่วยจำแนกรายโรคของผู้ป่วยในโรงพยาบาลขอนแก่น ปีงบประมาณ 2556-2560 [เอกสารอัดสำเนา]. ขอนแก่น: โรงพยาบาล; 2560.
7. ทนันชัย บุญบูรพงศ์. การบำบัดระบบหายใจ. ใน: สุนิสา ฉัตรมงคลชาติ, บรรณาธิการ. การดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ: Respiratory Care in Adult Mechanically Ventilated Patients. สงขลา: หน่วยผลิตตำรา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557. หน้า 1-5.
8. รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามกระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. ว. พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2559; 26(2): 103-115.
9. Weinstein RA. Health Care Associated Infections. In: Kasper DL, Fauci AS, Editors. Harrison’s Infectious Diseases. 2nd ed. China: China Translation & Printing Services Ltd; 2013. p. 159-169.
10. ภริตา บุญรักษา และคณะ. โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลในผู้ใหญ่ สาเหตุและความชุกของการดื้อต่อยาปฏิชีวนะช่วงปี พ.ศ. 2554-2555 โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2556; 7(2): 296-301.
11. Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple Method for Sample Size Calculation for Linear and Logistic Regression. Statistics in medicine 1998; 17(14): 1623-1634.
12. คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, บรรณาธิการ. พื้นฐานระบาดวิทยา: Basics of Epidemiology. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แคนนา กราฟฟิค; 2559.
13. นิธิพัฒน์ เจียรกุล. (บรรณาธิการ). (2551). โรคปอดจากการทำงาน: (Occupational Lung Diseases). ตำราโรคระบบการหายใจ: ให้ระบบการหายใจ ปลอดภัยจากโรค. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. หน้า 243-254.
14. ธีรภา รัตนเสลานนท์. การศึกษาคุณลักษณะทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดติดเชื้อชุมชนในโรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2560; 36(4): 291-303.
15. Ito A, Ishida T, Tokumasu H, Washio Y, Yamazaki A, Ito Y, Tachibana H. Prognostic factors in hospitalized community-acquired pneumonia: a retrospective study of a prospective observational cohort. BMC Pulmonary Medicine 2017; 17(78): 1-10.
16. สุริยนต์ มิ่งขวัญ และปาริโมก เกิดจันทึก. การพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอักเสบติดเชื้อในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2560; 13(3): 14-24.
17. Konopka KE, Myers JL. A Review of Smoking-Related Interstitial Fibrosis, Respiratory Bronchiolitis, and Desquamative Interstitial Pneumonia: Overlapping Histology and Confusing Terminology. Arch Pathol Lab Med 2018; 142(10): 1177-1181.
18. นนทลี ทองสง, กำพล สุวรรณพิมลกุล. Community-Acquired Pneumonia. ใน: รองพงศ์ โพล้งละ และคณะ,บรรณาธิการ. Clinical Approach and Management in Respiratory Tract Infections. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555. หน้า 149-169.
19. สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506:Pneumonia [ออนไลน์] 2561 [อ้างเมื่อ 12 กันยายน 2561]. จาก:http://www.boe.moph.go.th /index.php
20. กัญญา วังศรี. การบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย: The EMS System in Thailand. Srinagarind Med J 2556; 28: 69-73.
21. Jackson ML, Neuzil KM, Thompson WW, Shay DK, Yu O, Hanson C, et al . The Burden of Community-Acquired Pneumonia in Seniors: Result of a Population-Based Study. Clin Infect Dis 2004; 39: 1642-50.
22. Quah J, Jiang B, Tan PC, Siau C, Tan TY. Impact of microbial Aetiology on mortality in severe community-acquired pneumonia. BMC Infectious Diseases 2018; 18(1): 1.
23. อาคม สมบัติหอม, วีรพล ความหมั่น, ชุลีพร จิระพงษา กฤชวัฐ ปลอดดี, ชรัฐพร จิตรพีระ, และคนึงนิจ เยื่อใย. สถานการณ์โรคและการเสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบ จังหวัดชัยภูมิ ปี พ.ศ. 2557-2561. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2562; 50(10): 149-156.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-04