การมีส่วนร่วมในกลไกการจัดการความปลอดภัยทางถนนของคณะทำงานระดับอำเภอ ในพื้นที่ 4 จังหวัดนำร่อง

ผู้แต่ง

  • สโรชพันธุ์ สุภาวรรณ์ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, กลไกการจัดการ, ความปลอดภัยทางถนน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกลไกการจัดการความปลอดภัยทางถนน และเปรียบเทียบความแตกต่างในคุณลักษณะทั่วไปของคณะทำงานต่อความแตกต่างด้านการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกลไกการจัดการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอ ในพื้นที่ 4 จังหวัดนำร่อง แหล่งข้อมูลที่ใช้ศึกษา ได้จากโครงการพัฒนากลไกศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ ในพื้นที่ 4 จังหวัดนำร่องเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน มีผู้เข้าร่วมจากสหสาขาวิชาชีพที่มีภารกิจในการร่วมบูรณาการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนนในระดับอำเภอ จำนวนทั้งสิ้น 280 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า คณะทำงานส่วนมาก ร้อยละ 55.3 มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกลไกการจัดการความปลอดภัยทางถนนในระดับปานกลาง ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการปฏิบัติงาน และประสบการณ์การทำงานด้านอุบัติเหตุแตกต่างกัน จะมีความแตกต่างในการมีส่วนร่วมด้านการขับเคลื่อนกลไกการจัดการความปลอดภัยทางถนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

1. World Health Organization. Global status report on road safety 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.
2. ประเทศไทยใช้การบูรณาการข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน โดยใช้ข้อมูลจาก 3 ฐาน ประกอบด้วย 1) ใบมรณบัตรที่ตรวจสอบกับหนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล 2) คดีความจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ 3) การเคลมประกันจากบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เพื่อบ่งชี้จำนวนผู้เสียชีวิตอย่างครอบคลุม
3. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ระบบการบูรณาการข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2561] เข้าถึงได้จาก http://rti.ddc.moph.go.th/RTDDI/Modules /Report/Re port06.aspx
4. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554
5. สุเมธ องกิตติกุล. โครงการติดตามและประเมินผลจากการปฏิบัติตามแผนงานด้านความปลอดภัยทางถนนเพื่อบรรลุเป้าหมายทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย; 2558.
6. องค์การอนามัยโลก. การประเมินความปลอดภัยทางถนนในเชิงกฎหมายและเชิงสถาบันประเทศไทย. นนทบุรี: องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย; 2559.
7. พัทยา งามหอม. อุบัติเหตุทางถนน วัฒนธรรมราชการ กับงานประเพณี. ใน สิทธิโชค ชาวไร่เงิน, บงกช เจริญรัตน์, บรรณาธิการ. งานวิจัยวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ : อุบัติเหตุ ยาเสพติด. นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ; 2561.
8. ธนกร กรวัชรเจริญ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงาน บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) [การค้นคว้าอิสระ]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2555.
9. อาทิตยา เหลืองมั่นคง. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัทในเครือ สมาร์ทแลนด์แอสเสท กรุ๊ป [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก; 2559.
10. ปฐมวงค์ สีหาเสนา. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.
11. นพรัตน์ กาญจนวิสุทธิเดช. การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานข้าราชการกรมเสมียนตรา [ภาคนิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2544.
12. ณิชา คงสืบ. แรงจูงใจในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีม กรณีศึกษา: บริษัท ลิสซิ่ง แห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-04