ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • กฤชคุณ คำมาปัน สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี แม่ปืม จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

โปรแกรม ความรู้การรับรู้สมรรถนะ แห่งตน, พฤติกรรมการบริโภคอาหารผู้ป่วยโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ผู้วิจัยจึงใช้กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน แยกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบความรู้ สมรรถนะ และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลตนเองใช้ระยะเวลา 9 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ paired t-test ผลการวิจัยพบว่าระดับคะแนนเฉลี่ยความรู้ สมรรถนะ และพฤติกรรมหลังให้โปรแกรมสูงกว่าก่อนการให้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ก่อนให้โปรแกรม กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับ 0.05 และ หลังให้โปรแกรม ระดับคะแนนเฉลี่ยความรู้และสมรรถนะ กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ส่วนระดับพฤติกรรมกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับ 0.05จึงสรุปได้ว่าโปรแกรมการให้ความรู้และส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถประยุกต์ใช้ในการส่งเสริม ด้านความรู้ และสมรรถนะการบริโภคอาหาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

1. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์การป่วยและการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจและหลอดเลือด) ในประเทศไทย ในระยะ 5 ปี (2553- 2557) [ออนไลน์]. 2559. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2561 file:///C:/Users/Mirumo/Downloads/1367-1357-1-PB.pdf
2. วรรณี นิธิยานันท์. คนไทยป่วย ‘เบาหวาน’ พุ่ง ป่วยแล้ว 5 ล้าน ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน พบบ่อย ‘ไตเรื้อรัง’ [ออนไลน์]. 2559 . สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561 https://www.hfocus.org/content/2016/11/12992
3. โรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต. โรคเบาหวาน (Diabetes). [ออนไลน์]. 2562. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2561 https://www.hfocus.org/content/2016/11/12992
4. อัษฎางค์ รวยอาจิณ. กรมควบคุมโรคลงนาม 13 อปท. ลดพฤติกรรมเสี่ยง “โรคหัวใจขาดเลือด. [ออนไลน์]. 2560. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2561 https://www.hfocus.org/content/2017/02/13460
5. ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดพะเยา. ระบบข้อมูลคลังโรคเรื้อรังจังหวัดพะเยา [ออนไลน์]. 2561. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2561 http://www.pyomoph.go.th/pages/index.php
6. Likiratcharoen, S. (2000). Meta-analysis of educative-supportive intervention research for diabeticpatient in Thailand. Unpublished master’s thesis, Mahidol University, Bangkok, Thailand. N.P.: n.p.
7. ลิขิตรัตน์เจริญ. การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการสนับสนุนและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์อภิมาน. [ออนไลน์]. 2543. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2561 http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=306963
8. เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม Orem . [ออนไลน์]. 2012. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2561 https://www.gotoknow.org/posts/115427
9. สโรชา อ่อนกลาง. การรับรู้ (Perception) . [ออนไลน์]. 2556. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2561 https://prezi.com/emxwd3ey-sqg/perception/
10. ปราณี หลาเบ็ญสะ. การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผลง ออนไลน์]. 2559. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2561 http://edu.yru.ac.th/evaluate/attach/1465551003
11. จุฑามาส จันทร์ฉาย. เรื่องโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรค เบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [ออนไลน์]. 2555. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2561 file:///C:/Users/Mirumo/Downloads/45595-Article%20Text-105622-1-10-20160112.pdf
12. นิภานันท์ สุขสวัสดิ. เรื่องผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถ แห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการดูแลตนเองใน ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [ออนไลน์]. 2559. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน2561https://home.kku.ac.th/chd/index.php?option=com_attachments&task=download&id=158&lang=th
13. สุกาญจน์ อยู่คง. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองตอพฤติกรรมการควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 . [ออนไลน์]. 2558. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 http://ns2.ph.mahidol.ac.th/phklb/knowledgefiles/19___.pdf
14. กุลธิดา พานิชกุล. อ้างใน โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Transtheoretical Model: TTM) พัฒนาโดยโปรแชสก้าและไดคลเมนเต้ (Prochaska &DiClemente, 1983) การประยุกต์ใช้โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Transtheoretical Model) เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย). [ออนไลน์]. 2556. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562 http://journal.knc.ac.th/pdf/19_1_2556_6.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-04