ผลการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อทักษะการทำงานร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • อติญาณ์ ศรเกษตริน วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • อัจฉราวดี ศรียศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • สุทธานันท์ กัลกะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • สุทธานันท์ กัลกะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • จุรีรัตน์ กิจสมพร สถาบันพระบรมราชชนก
  • อรชร อินทองปาน สถาบันพระบรมราชชนก
  • วารุณี เกตุอินทร์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • สรัลรัตน์ พลอินทร์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, ทักษะการทำงานร่วมกัน, สหสาขาวิชาชีพ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการทำงานร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพ ด้านการเรียนรู้บทบาททีมสหวิชาชีพ ด้านภาวะความเป็นผู้นำ และด้านการทำงานเป็นทีม หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ประกอบด้วย นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จากวิทยาลัยพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 6 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎ ในสาขาวิชาที่แตกต่างกัน 4 สาขาวิชาๆละ 6 คน รวม 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คู่มือการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จำนวน 15 ชั่วโมงประกอบด้วย 5 กิจกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทักษะการทำงานร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพในด้าน การเรียนรู้บทบาททีมสหวิชาชีพ  ภาวะความเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที (Paired t-test) จากผลการทดลองพบว่า ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการทำงานร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพ ด้านการเรียนรู้บทบาททีมสหวิชาชีพ ด้านภาวะความเป็นผู้นำ และด้านการทำงานเป็นทีมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ดังนั้นผู้สอนควรนำกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมไปใช้ในการพัฒนาทักษะนักศึกษาที่สอดรับกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และศตวรรษที่ 21

References

1. องค์อร ประจันเขตต์. การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: มุมมองในการศึกษาทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 2557, 15(3), 179-184.
2. คณะอนุกรรมการการศึกษาแบบสหวิชาชีพ (Interprofessional Education-IPE) ปฏิรูปการสร้างคนสุขภาพบูรณาการร่วม 9 วิชาชีพ. (เข้าถึงเมื่อวันที่ 2561, สิงหาคม 20). เข้าถึงได้จากhttp://www.pharmacy.mahidol.ac.th/newsfile/depdocument/20170606105805
3. สุณี เศรษฐเสถียร. รูปแบบการเรียนแบบสหวิชาชีพ ณ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูโรงพยาบาลอุดรธานี, เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 2558, 25(2), 65-70.
4. วณิชา ชื่นกรองแก้ว.การศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี เอ ลิฟวิ่ง จำกัด; 2557
5. นุชรัตน์ นุชประยูร. การใช้กิจกรรมกลุ่ม: คุณลักษณะและแนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียน, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 2558, 7(2), 84-92.
6. กระทรวงศึกษาธิการ. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. (เข้าถึงเมื่อวันที่ 2561, สิงหาคม 20). เข้าถึงได้จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/
7. ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพ: ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด; 2552
8. อติญาณ์ ศรเกษตริน อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ วารุณี เกตุอินทร์ และดาราวรรณ รองเมือง. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน. รายงานการวิจัย. สถาบันพระบรมราชชนก. 2561
9. ณัฐดนัย บุญหนุนและณัฐพร โชยะกุล. ผลการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม Participatory Learning Process (PLP) เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา, วารสารปัญญาภิวัฒน์, 2560.9(พิเศษ), 182-192.
10. Centre for the Advancement of Interprofessional Education. Moving the Interprofessional Education Research Agenda Beyond the Limits of Evaluating Student Satisfaction. Journal of Research in Interprofessional Practice and Education; 2016; 6(2), 1-11.
11. กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545กรุงเทพฯ :องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. 2545
12. ธวัชชัย ยืนยาว จุฬารัตน์ ห้าวหาญ และวรนาถ พรหมศวร. ผลการจัดการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพต่อการรับรู้และเข้าใจบทบาทตามสาขาวิชาชีพ และความสามารถในการทำงานเป็นทีม. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 2562, 20(1), 137-1747.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-04