การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การดูแลระยะยาว, ภาคีเครือข่ายชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ผู้เข้าร่วมวิจัยเลือกมาแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) ผู้สูงอายุที่มีภาวะติดบ้านหรือติดเตียง จำนวน 45 คน และ 2) ตัวแทนภาคีเครือข่ายชุมชน จำนวน 30 คน ประกอบด้วย 1) ภาคีเครือข่ายบริการสุขภาพ จำนวน 5 คน 2) ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิง จำนวน 5 คน 3) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 12 คน และ 4) ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน และ 5) เจ้าหน้าที่จากเทศบาล จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 75 คน กระบวนการวิจัย มี 3 ระยะ คือ 1) เตรียมการและวิเคราะห์สถานการณ์ 2) ระยะปฏิบัติการพัฒนาด้วยวงจร PAOR ถอดบทเรียนและจัดกิจกรรม 2 รอบ และ 3) ระยะสรุปประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ แนวคำถามกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้น มี 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) การเตรียมการ การตรวจคัดกรองและการจัดทำแผนการดูแล 2) การส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน การเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ 3)กระบวนการจัดระบบบริการ 4) นโยบายและดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง 5) การช่วยเหลือสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ๆ ผลลัพธ์ภายหลังดำเนินกระบวนการพบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีภาวะสุขภาพดีขึ้นทั้งร่างกาย จิตใจและสังคม มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลอยู่ในระดับมากที่สุด และภาคีเครือข่ายชุมชนมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด การศึกษาชี้ให้เห็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มคุณภาพการดูแลทำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ การมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งของเครือข่ายชุมชน การมีศูนย์บริการสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง การประชุมหารือกันของเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ และการสนับสนุนจากภาคีที่เกี่ยวข้อง
References
2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.).คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.); 2557.
3. มูลนิธิสถาบันการวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บริษัทอัมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด; 2558.
4. งานผู้สูงอายุ กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพ. คู่มือแนวทางการประเมินตำบลต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care). ศูนย์อนามัยที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่; 2556.
5. ศิราณี ศรีหาภาค และคณะ.รายงานผลความก้าวหน้าโครงการวิจัยรูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะ กองทุนดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนอีสานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560.
6. วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และคณะ. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น. วารสารสภาการพยาบาล, 2557; 29(3): 104-115.
7. Kemmis, S., MaTaggart, R The Action Research Planner (3rd ed.) Geelong, Australia: Deakin University; 1988.
8. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2558.
9. Wagner H. Improving chronic illness: translating evidence into action. Health Affairs, 2011; 20(6): 64-78.
10. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ ปี 2557. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก; 2558.
11.ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์; 2553.
12.ประเวศ วะสี และคณะ. การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน เวทีเสวนา “ร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน”กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ(สพช.) สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.
13. Gibson Cs.A concept analysis of empowerment J Adv Nur, 1991; 16(20): 345-61.
14. สมจินต์ เพชรพันธุ์ศรี และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 2557; 12(3): 31-47.
15. แพรววิภา รัตนศรี. รูปแบบการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านสระแก้ว ตำบลสระแก้ว อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2560.
16.พิศสมัย บุญเลิศ และคณะ.การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมันตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2559; 23(2): 79- 87.