การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • ศิรประภา หล้าสิงห์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุมัทนา กลางคาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศิรินาถ ตงศิริ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต, คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกุดไส้จ่อ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ 66 คน และกลุ่มภาคีเครือข่าย 26 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา บริบทคุณภาพชีวิตและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่พบว่า เป็นผู้สูงอายุติดสังคม ร้อยละ 85.90 มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 84.80 ปัญหาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่รู้สึกวิตกกังวลหรือซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 68.4 ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่จัดขึ้น พบว่า คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่มีภาวะสุขภาพปกติดีขึ้น ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่มีปัญหาด้านสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพดีขึ้น ผู้สูงอายุกลุ่มภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตและภาวะสุขภาพดีขึ้น และภาคีเครือข่ายในชุมชนมีบทบาทในการร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การดำเนินงานของหน่วยงานสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่มีการประสานแผนพัฒนาและการบูรณาการงบประมาณร่วมกันจนเกิดเป็นรูปธรรม ภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง เน้นการทำงานเชิงรุกจนเกิดการพัฒนาระบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์; 2562.
2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. (n.d.). HDC - Dashboard. (Accessed November 7, 2018, at https://mkm.hdc.moph.go.th)
3. World Health Organization. The World Health Organization Quality of Life (WHOQOL)-BREF. Geneva Switzerland; 2004.
4. วีรยุทธ ชาตะกาญจน์. วิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี 2558; 2(1): 29–49.
5. สุมัทนา กลางคาร, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 6th ed. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์-สารคามเปเปอร์; 2553. หน้า 124.
6. EQ-5D-5L – EQ-5D. (n.d.). (Accessed November 7, 2018, at https://euroqol.org/eq-5d-instruments/eq-5d-5l-about/)
7. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก; 2557.
8. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุ. 2556. (Accessed November 7, 2018, at http://hp.anamai.moph.go.th/main.php?filename=index_th)
9. กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2562 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข; 2561.
10. กัมปนาท บริบูรณ์. แนวทางการพัฒนารูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารรามคำแหง ฉบับคณะศึกษาศาสตร์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2562; 1(1): 40–5.
11. ปิยวรรณ เหลาสา, กระจ่าง ตลับนิล, และสุภรณ์ ชุมพลวงศ์. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลทุ่งแสงทอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2558; 9(1): 96-106.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-10