การเปรียบเทียบผลของการชี้แนะและการสอนสุขศึกษาต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
แผนการชี้แนะ, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการชี้แนะและการสอนสุขศึกษาต่อพฤติกรรมสุขภาพ และระดับความดันโลหิต ก่อนและหลังการทดลองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการชี้แนะกับกลุ่มที่ได้รับการสอนสุขศึกษาตามปกติ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562 จำนวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และ กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่อง เพศ อายุ ระดับการศึกษา และภาวะสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ระดับความดันโลหิต และแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test for dependent samples และ t-test for independent samples ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง หลังจากได้รับแผนการชี้แนะเพื่อการปรับพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้แนวคิดการชี้แนะของแฮส (HASS) มาประยุกต์ใช้ มีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น กว่าก่อนการทดลอง และเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนระดับความดันโลหิตลดลงกว่าก่อนการทดลอง และ ลดลงกว่ากลุ่มควบคุม โดยได้ผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) โดยสรุป ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้แผนการชี้แนะดังกล่าว ส่งผลให้ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้น และระดับความดันโลหิตลดลง ดังนั้นเพื่อให้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพ และ ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น แผนการชี้แนะดังกล่าวที่ผู้วิจัยศึกษานี้ควรนำไปเผยแพร่และประยุกต์ใช้ขยายผลต่อไป
References
2. Freid, V. M., Bernstein, A. B., & Bush, M. A. Multiple Chronic conditions among adults ageed 45 and over:Trends Over The past 10 years. [Internet]. American; 2012. [cited 2017 July 27]. Available from http://www. Cdc. Gov/nchs.
3. สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราตายด้วยโรคความดันโลหิตสูง ปี พ.ศ. 2544-2555; (เข้าถึงเมื่อ 27 กรกฏาคม 2560). เข้าถึงได้จากจาก http://www. Thaincd. Com/information-statistic/non-communicable-disease-data.
4. James PA. , Oparil S, Carter BL, Cushman WC, Dennison-Himmelfarb C, Handler J, et.al. Evidence-Based Guideline for the Management of High Blood Pressure in Adults: Report form the Panel Member Appointed to the Eighth Joint National Committee (JNC8). JAMA. 2014; 311:507-20.
5. weber, M. A., et al. Clinical practice guideline for the management of hypertension in the community:A statement by the American Society of Hypertension and the International Society of Hypertension. [Internet]. American; 2013.[cited 2017 July 27]. Available from http://www.ash-us.org/documents/ ash_ish-guideline.
6. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป(ฉบับปรุงปรุง พ.ศ. 2558). (เข้าถึงเมื่อ 27 กรกฏาคม 2560); เข้าถึงได้จากจาก http://www. Thaihypertension.org.
7. ปัญญา จิตต์พูลกุศล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการควบคุมแรงดันเลือดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2550; 3(2): 1336-1343.
8. Dusing, R. Overcoming barriers to effective blood pressure control in patients with hypertension. Curr Med Res Opin. Aug ; 2006. 22(8): 1545-53.
9. Sritirakul, S. Nuntawan, C. Thrakul, S. Bullangpo, P. Paonibol, U. Factors related to the failure of controlling hypertension. Journal Public Health ; 1999. 29(1): 49-58.
10. มาลัย กำเนิดชาติ. การจัดการแบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตำบลหนองไข่น้ำอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคราม; 2552.
11. สุชาดา อุปพัทธวานิชย์. ผลของการดูแลสุขภาพที่บ้านโดยทีมสุขภาพต่อความรู้พฤติกรรมการดูแลตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุโรงพยาบาลแก่งหางแมวจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. บัณฑิตวิททยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา; 2550.
12. จรินทรัตน์ ขันการไถ. ผลการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ. บัณฑิตวิททยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์; 2550.
13. Spross, J. A. Expert Coaching and Guidance. In A.B. Harmric, J. A. Spross, & C. M. Hanson (Eds). Advance nursing practice:An integrative approach. (4 th ed.) pp ;2009: 159-190
14. วนิดา สติประเสริฐ. ผลการชี้แนะต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเวชปฏิบัติชุมชน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.
15. Polit, DF. Beck, CT. Nursing Research:Gernerating and Assessing vidence for Nursing Practice.(8th ed). Philadephia:Lippincott; 2008.
16. ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์และคณะ. ผลของการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. J Nurs Sci; 2554. 29(Suppl2): 93-102.
17. Cohen, J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. New York, NY: Routledge Academic; 1988.
18. Haas, S. A. Coaching:Developing key players. Journal of Nursing Adminstration 1992; 22(6): 54-58. .
19. Sangster,J., Furber,S., Allman-Farinelli,M., Phongsavan,P., Redferm,J., Hass,M., & Bauman,A. Effectiveness of Pedometer-Based Telephone Coaching Program on Weight and Physical Activity for People Referred to a Cardiac Rehabilitation Programe: A randomized controlled. Journal of Cardiopulmonary Rehabilitation & Prevention; 2015: 35(2), 124-129.