การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายใต้รูปแบบ การจัดการโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model) ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ศุภาวดี พันธ์หนองโพน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, การจัดการโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model)

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายใต้รูปแบบการจัดการโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model) ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ผู้เข้าร่วมการวิจัยเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด ประกอบด้วย
1) กลุ่มบริหาร จำนวน 15 คน 2) กลุ่มภาคประชาชน จำนวน 94 คน 3) กลุ่มทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 124 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสังเกตการณ์มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการจัดระบบบริการสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า การจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคไมติดต่อเรื้อรังในคลินิกเบาหวานครั้งนี้มีการจัดการตาม 6 องค์ประกอบของแบบจำลองการดูแลโรคเรื้อรังของแวคเนอรที่สำคัญ 6 ประการคือ 1) ด้านระบบบริการ มีการปรับระบบการทำงานใหม่ให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้ง่ายขึ้น 2) ด้านการสนับสนุนการจัดการตนเอง มีกิจกรรมกลุ่ม ให้ความรู้และการมาตรวจตามนัด 3) ด้านการออกแบบบริการ มีการจัดรูปแบบบริการเดียวกันในเครือข่าย กำหนดกิจกรรมของคลินิกเบาหวานให้ชัดเจน 4) ด้านการสนับสนุนการตัดสินใจ จัดทำคู่มือแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน และมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นจิตอาสา ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยในชุมชน 5) ระบบสารสนเทศทางคลินิก พัฒนาระบบข้อมูลทั้งเครือข่าย มีแผนที่ในการติดตามเยี่ยมบ้าน และโปรแกรมการตรวจสอบผู้ป่วยขาดนัด 6) ด้านสิ่งสนับสนุนในชุมชน พัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ภายหลังนำกระบวนการดูแลที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมาย สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีอยู่ในระดับที่ควบคุมได้มากขึ้น ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ากระบวนการพัฒนาระบบบริการที่พัฒนาขึ้นเป็นผลสำเร็จจากการปรับระบบบริการแนวใหม่ที่เน้นกิจกรรมที่ครบวงจรทั้งระบบ เน้นการทำงานเชื่อมประสานกับชุมชนและเครือข่ายในพื้นที่ โดยมีกลไกการสนับสนุนที่ดีของหน่วยบริการและทีมผู้ดูแลทั้งในและนอกสถานบริการ  

References

1. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2017.
2. ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบัน และความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย การยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษา และขยายการเข้าถึงการรักษาโรคเบาหวาน นำไปสู่สังคมสุขภาพที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: บริษัทโนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย); 2017.
3. งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลขุนหาญ. รายงานสถิติการบริการโรงพยาบาลขุนหาญ ประจำปี 2560. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลขุนหาญ; 2560.
4. Kemmis, S. and McTaggart, R. The Action Research Reader. Australia: Victoria Deakin University Press; 1988.
5. สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์; 2553.
6. กิติวรรณ จรรยาสุทธิวงศ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ภายใต้ระบบสุขภาพอำเภอในศูนย์บริการสาธารณสุข สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย มหาสารคาม; 2558.
7. พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต (พระพุทธศาสนา), ธวัลรัตน์ แดงหาญ (พระพุทธศาสนา) สรัญญา วภัชชวิธี. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย. Journal of The Office of ODPC 7 Khon Kaen; 2013: P 117–130.
8. ดารณี เทียมเพ็ชร, กศิมา สง่ารัตนพิมาน, มัญฑิตา อักษรดี, เพ็ญพร ทวีบุตรและวรเดช ช้างแก้ว. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานลงสู่ชุมชนแบบไร้รอยต่อ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข; 2557: 10(4), 10-20.
9. สุปรียา เสียงดัง. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้; 2560: 4(1), 191–204.
10. ชัยวุฒิ จันดีกระยอม และกาญจนา จันทะนุย. การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้บริบทพื้นที่อำเภอทุรกันดาร อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาสารคาม: โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-10