ความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องฉลากโภชนาการในเด็กวัยเรียน: กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • ฤทัยวรรณ แก้วมาลัย วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • เนตรนภา เครือสง่า วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • นิศาชล ตันติภิรมย์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • ปริญญาพร ชาวบ้านเกาะ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • เบญจรัตน์ เอี่ยมสะอาด วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ฉลากโภชนาการ, เด็กวัยเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ อิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องฉลากโภชนาการ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ในจังหวัดเพชรบุรี 3 โรงเรียน จำนวน 102 คนเลือกมาโดยสุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 1) แบบประเมินอิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2)แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับฉลากโภชนาการ และ 3) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องฉลากโภชนาการ GDA ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85, 0.82 และ 0.77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการของเด็กวัยเรียนโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ (=9.52, SD=2.44) อิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยรวมอยู่ในระดับสูง (=36.58, SD=4.90) และความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องฉลากโภชนาการในเด็กวัยเรียนโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ (=12.55, SD=3.48) ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ อิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในเด็กวัยเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=0.389, p<0.001, r=0.213, p=0.032 ตามลำดับ) บุคลากรด้านสุขภาพ และโรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการให้กับเด็กวัยเรียนโดยการสอดแทรกหรือบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนและอาจจะใช้อิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องฉลากโภชนาการในเด็กวัยเรียน

References

1. วาสนา บุญจู, สิริพันธุ์ จุลกรังคะ, อัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ. การให้โภชนศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยของเด็กวัยเรียน. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน 2551; 2: 83-91.
2. กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. รายงานการสำรวจอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2556.
3. อุไรพร จิตต์แจ้ง, ประไพศรี ศิริจักรวาล, กิตติ สรณเจริญพงศ์, ปิยะดา ประเสริฐสม, ผุสดี จันทร์บาง. การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคขนมและอาหารว่างของเด็ก 3-15 ปี. โครงการเด็กไทยไม่กินหวาน; 2557.
4. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. รายงานการสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทย การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552. นนทบุรี: เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์; 2554.


5. กรมอนามัย. ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. สถานการณ์พฤติกรรมสุขภาพ ที่พึงประสงค์ในเด็กวัยเรียน [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://apps.hpc.go.th/
6. เปรมฤดี ภูมิถาวร และพัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา. โรคอ้วนในเด็กและวัยรุ่น โรคร้ายที่ปะทุขึ้นในศตวรรษนี้ [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/
7. มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. การโฆษณา พฤติกรรมการซื้อ และการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.fhpprogram.org/
8. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. เลือกบริโภคขนม ใส่ใจสุขภาพเด็ก [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/
9. ปริยาภรณ์ มณีแดง. บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในการป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35: 16-24.
10. บุญฤทธิ์ ประสิทธิ์นราพันธุ์, วิมล อ่อนเส็ง, ปฐพร แสงเขียว, ดุจเดือน เขียวเหลือง, อดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์, อัญชลี เข็มเพ็ชร, และคณะ. ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560; 9: 41-53.
11. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. การสร้างเสริมและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ : กลุ่มเด็กวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2559.
12. ศูนย์เบาหวานศิริราช. ทำไมจึงต้องอ่านฉลากโภชนาการ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/
13. Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.
14. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์ . กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2553.
15. อุทุมพร ผึ่งผาย, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, นฤมล ธีระรังสิกุล. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2560; 29: 92-103.
16. Levin, I. R., & Rubin, S. D. Statistic for management. 5th ed. New York: Prentice Hall; 1991.
17. อรทัย ใจบุญ, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, ลักขณา เติมศิริกุลชัย, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. ความรู้ และความแตกฉานด้านสุขภาพเรื่องฉลากโภชนาการแบบ GDA ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2019]. เข้าถึงได้จาก: http://ns2.ph.mahidol.ac.th/
18. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สำนักโภชนาการ. หุ่นดี สุขภาพดีง่ายๆ แค่ใช้ 4 พฤติกรรม. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
19. บุษรัตน์ พุฒวิชัยดิษฐ์, นพวรรณ เปียซื่อ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการอ่านฉลากโภชนาการของขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มต่อความรู้ทัศนคติ และพฤติกรรมการอ่านฉลากโภชนาการในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5–6. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2555; 18: 298-310.
20. จุรีรัตน์ ห่อเกียรติ, น้องนุช ศิริวงศ์, สิริพันธ์ จุลกรังคะ. ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์ ทางโภชนาการแบบ GDA บนฉลากขนมขบเคี้ยว: กรณีศึกษา อย.น้อย [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://kucon.lib.ku.ac.th/
21. นุชจรินทร์ สุทธิวโรตมะกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพ อิทธิพลของครอบครัวและกลุ่มเพื่อนกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.
22. Bruce, T., & Meggitt, C. Child care and education. United Kingdom: Insignia Books; 2012.
23. เพ็ญศรี กระหม่อมทอง, ศศิวิมล ปุจฉาการ, ปนัดดา จั่นผ่อง. การสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนในประเทศไทย พ.ศ. 2551. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2553; 33: 53-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-10