ผลการจัดกิจกรรมต่อความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน ของผู้ประกอบการค้าตลาดช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สิทธิชัย สารพัฒน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

เจตคติ, การจัดการขยะมูลฝอย

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการจัดกิจกรรมต่อความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน ของผู้ประกอบการค้าตลาดช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาผลของการจัดการด้านความรู้เจตคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของผู้ประกอบการค้าและ (2) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของผู้ประกอบการค้าตลาดช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ การเตรียม การดำเนินการ และการประเมินผลโดยใช้วงจรคุณภาพ คือ ขั้นวางแผน (Planning) ขั้นปฏิบัติการ (Action) ขั้นสังเกตการณ์ (Observation) และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติการ (Reflection)กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการค้าตลาดช่องจอมจำนวน 150 ครัวเรือน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเจาะจงตามจำนวนครัวเรือนในตลาดช่องจอม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และใช้ค่าสัมประสิทธิ์ของ Person (Person correlation coefficient) ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัย กำหนดระดับนัยสำคัญระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ระดับสูง ส่วนเจตคติเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนพบว่าอยู่ในระดับดีมากและโดยภาพรวมประชาชนมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย อยู่ในระดับดีมาก จากการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 โดยมีความสัมพันธ์ระดับต่ำและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง ส่วนความรู้การจัดการขยะมูลฝอยไม่มีความสัมพันธ์กับเจตคติการจัดการขยะมูลฝอย

References

1. อัจฉราวรรณ มุสิกะสันติ. นโยบายรัฐบาลกับการจัดการระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ; 2557. RetrievedSeptember29,2018,from http://contentcenter.prd.go.th/.
2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณช่องจอมกลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์.สุรินทร์:รุ่งธนเกียรติออฟเซ็ต; 2560.
3. ยศภัทร ยศสูงเนิน, วรรณภา รัตนวงค์ และนงนุช จันทร์ดาอ่อน. รายงานวิจัย การศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนเทศบาลตำบลโคกกรวด. นครราชสีมา:คณะสาธารณสุขศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา.นครราชสีมา: สำนักพิมพ์วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 2 ปี 2558; 2558.
4. วิมาลา พุทธวัน. ผลการประยุกต์ใช้กระบวน การเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับแนวคิดธนาคารขยะมูลฝอยรีไซเคิลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยของประชำชน ในชุมชนบ้านใต้สระแก้ว เทศบาลเมืองยโสธร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556.
5. นัยนา เดชะ. การมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยของประชาชนในตำบลเลม็ด อำเภอไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.
6. วิทกานต์ สารแสน. การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยชุมชน บ้านหวาย ตำบลนาสีนวนอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.
7. วิทยา ยนต์สันเทียะ. รูปแบบและวิธีการจัดการขยะที่เหมาะสมกับพื้นที่องค์การบริหารส่วน ตำบลหนองบุนนาก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภคมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2557.
8. เอกนรินทร์ กลิ่นหอม. ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตา บลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์สิ่งแวดล้อม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-10