รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยหมู่บ้านจำปา ตำบลบงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • อิสระ กุลยะณี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กฤษณ์ ขุนลึก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การจัดการขยะมูลฝอย, สมัชชาสุขภาพ, ขยะมูลฝอย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนบ้านจำปา ตำบลบงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพ 30 คน และ กลุ่มวัดผลลัพธ์ 66 คน ประยุกต์ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพเป็นเครื่องมือในการจัดการกับปัญหาหาขยะมูลฝอย เก็บรวมรวบข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึก แบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก และข้อมูลภาคสนามจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินงานสมัชชาสุขภาพในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนบ้านจำปา ตำบลบงเหนือ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ได้แก่ 1) การกำหนดประเด็นและการพัฒนาประเด็นเชิงนโยบาย 2) การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย 3) การแสวงหาฉันทามติร่วมกันต่อข้อเสนอเชิงนโยบาย 4) การขับเคลื่อนข้อเสนอสู่การปฏิบัติ 5) การติดตามและประเมินผล ผลจากกระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดการคัดแยกขยะมูลฝอยจากครัวเรือน ส่งผลให้ปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนบ้านจำปาลดลง เฉลี่ย 1,058.48 กิโลกรัมต่อเดือน ทำให้ไม่พบปัญหาขยะล้นถัง ไม่พบปัญหาขยะกระจัดกระจาย ไม่พบปัญหาขยะในถังขยะส่งกลิ่นเห็นรบกวน การเผาทำลายขยะลดน้อยลง และพบว่าประชากรกลุ่มวัดผลลัพธ์ มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานในการจัดการขยะมูลฝอย อยู่ในระดับมาก โดยสรุป ปัจจัยความสำเร็จเกิดจากการมีส่วนร่วมที่แท้จริงของชุมชนทำให้ได้รูปแบบการจัดการขยะที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ทำให้การจัดการขยะมูลฝอยดาเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปริมาณขยะมูลฝอยลดลง และประชาชนมีความพึงพอใจในระดับมากต่อรูปแบบกิจกรรมการจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น

References

สิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ธนะการพิมพ์; 2531.
2. กรมควบคุมมลพิษ.รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ: สำนัก พิมพ์กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม; 2560.
3. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา z(H)ero Waste:ปฏิบัติการขยะเหลือศูนย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2559.
4. สำนักปลัดตำบลบงเหนือ. รายงานการจัดการขยะมูลฝอย. สกลนคร: สำนักปลัดตำบลบงเหนือ; 2559.
5. Kemmis, S., and McTaggart, R.. The action research planner. Geelong: Deakin University Press; 1990.
6. วิทวัฒน์ สิงห์นาครอง. กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยชุมชน เทศบาลตำบลโพธิ์ชัย อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.
7. อารีย์ พลภูเมือง, กัลยา หาญพิชาญชัย และ เสฐียรพงษ์ ศิวินา. การพัฒนาระบบคัดแยกมูลฝอยในชุมชนแบบมีส่วนร่วมเขตเทศบาล ต.เมืองสรวง อ.เมืองสรวง จ.ร้อยเอ็ด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 4(1): 147–161.
8. ปิยะรักษ์ ประดับเพชรรัตน์. ศักยภาพในการลดปริมาณขยะชุมชน จากโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลกรณีศึกษาชุมชนทรัพย์สินพัฒนา เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-10