การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลจอมศรี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
การพัฒนา, รูปแบบ, การจัดการขยะ, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การจัดการขยะของชุมชน 2)ศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) ศึกษารูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการขยะจำนวน 35 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และกระบวนการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ขยะของชุมชนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นขยะในครัวเรือน ครัวเรือนไม่มีการคัดแยกขยะ ปัญหาคือขาดความตระหนักและความร่วมมือจากประชาชนและผู้ประกอบการ การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วยการลดปริมาณขยะภายในครัวเรือนและจากแหล่งกำเนิด การคัดแยกและ การเก็บรวบรวมขยะ และการนำกลับมาใช้ซ้ำและนำไปกำจัด รวมถึงการจัดตั้งกองทุนขยะเพื่อสวัสดิการ รูปแบบแนวทางในการส่งเสริมให้จัดการขยะแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน การมีกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงาน และมีรูปแบบแนวทางจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม
References
2. สยามธุรกิจออนไลน์.ขยะ "เลย" ทะลักปีละ 2 แสนตัน กรมควบคุมมลพิษเต้น/ดึงท้องถิ่นณรงค์ลดปริมาณ. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.siamturakij.com/news/3627
3. ยุวัลดา ชูรักษ์,จิรัชยา เจียวก๊ก,สันติชัย แย้มใหม่,ยุทธกาน ดิสกุล, และฉัตรจงกล ตุลนิษกะ. รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง.เอกสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่8. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 2560. หน้า 775-767.
4. ศุภรินทร์ อนุตธโต และคณะ. รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเทศบาลตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ MFU Connexion, 2559; 6 (1): 53-78.
5. ทิวา ประสุวรรณ, ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ,ดารากร เจียมวิจักษณ์ และปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์. การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2559; 11(1): 45-61.
6. อารีย์ พลภูเมือง, กัลยา หาญพิชาญชัย และ เสฐียรพงษ์ ศิวินา.การพัฒนาระบบคัดแยกมูลฝอยในชุมชนแบบมีส่วนร่วมเขตเทศบาลตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. ปีที่4 (ฉบับพิเศษเมษายน), 2560. หน้า 160-171.
7. จันทร์เพ็ญ มีนคร. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลบางนาลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานการวิจัยสำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการอุดมศึกษา; 2554.
8. ฮารูน มูหมัดอาลี. รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 2561; 4(2): 297-314.
9. สุริยะ หาญพิชัย,และจันทร์ฉาย จันทร์ลา. การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี.วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 2561; 12(1): 67-85.
10.วชิรวิชญ์ วรชิษณุพงศ์. รูปแบบการจัดการขยะชุมชนในเทศบาลตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. เอกสารนเรศวรวิจัย ครั้งที่13:วิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม.มหาวิทยาลัยนเรศวร;2560. หน้า 1262-1271.
11.วิชญาพัลส์ ไชยสมบัติ, วิทยา เจริญศิริ,และทรงศักดิ์ จีระสมบัติ.การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม.วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 2560; 4(2): 195-260.
12.นงกต สวัสดิชิตัง, กฤตติกา แสนโภชน์, ประจญ กิ่งมิ่งแฮ และสืบชาติ อันทะไชย. การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี.วารสารบัณฑิตศึกษามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 2557; 3 (1): 47-64.
13.ปภาวรินท์ นาจำปา. การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.