การประเมินความเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ในตำบลหนองปลาสะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • วันชัย รัตนพรม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
  • สมชาย แสนวงค์ รพ.สต.หนองปลาสะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
  • ณัฐพงษ์ พอสุยะ รพ.สต.บ้านหนองเขียด อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การประเมินความเสี่ยง, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

บทคัดย่อ

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายทั้งมนุษย์และสัตว์ แต่ยังพบว่าเกษตรกรยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมากและเป็นพื้นที่กว้าง โดยส่วนใหญ่มีการใช้ไม่ถูกวิธีจึงทำให้ได้รับสารเคมีสะสมไว้จนร่างกายและแสดงอาการต่าง ๆ การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาพตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตนและหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ประเมินความเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และหาความสัมพันธ์ของการปฏิบัติกับความเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในตำบลหนองปลาสะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ผสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยตนเอง (ร้อยละ 58.50) ไม่พบอาการผิดปกติทันทีหลังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ร้อยละ 68.00) ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้ในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ร้อยละ 69.10)  ในรอบปีที่ผ่านมาไม่เคยเข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช (ร้อยละ 63.40) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 7.87) มีเจตคติอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.26+0.19) มีการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 1.58+0.24) โดยความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ (P-value>0.05) การประเมินความเสี่ยงในการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่าส่วนใหญ่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 42.30) การหาความสัมพันธ์ของระดับการปฏิบัติตนในการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกับระดับความเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.01) ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ควรส่งเสริมการอบรมให้เกษตรกรปฏิบัติตนอย่างถูกต้องรวมถึงสร้างความตระหนักต่อการป้องกันอันตรายและส่งเสริมการใช้เกษตรอินทรีย์ต่อไป

References

1. กรมส่งเสริมวิชาการเกษตร. จำนวนผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรปี 2559 [อินเตอร์เน็ต]. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร. [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก www.agriinfo.doae.go.th.
2. สำนักระบาดวิทยา.ข้อมูลเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา รายงาน 506 พ.ศ. 2555 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2555].เข้าถึงได้จาก www.moph.go.th.
3. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแนวทางดำเนินงานเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2553.
4. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.กระทรวงสาธารณสุขระวังโรคเกษตรกรไทยเผย 5 ปี ยอดเสี่ยงสารพิษพุ่ง[อินเตอร์เน็ต]. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ.[เข้าถึงเมื่อ 19 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก www.thaihealth.or.th.
5. อัมราภรณ์ ภู่ระย้า.การสร้างรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อลดอันตรายด้านสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยเฮีย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์].พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2553.
6. Cheryl,L,Beseler,L Stallones,JA., Hoppin,MCR. Alavanja,A.,Blair,T.,Keefe and Kamel,F. Depression and pesticide exposures among private pesticide applications enrolled in the Agricultural Health Study. Retrieved October 11, 2013 from www.ncbi.nlm.nih.gov.
7. ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยารามาธิบดี.พิษจลศาสตร์และพิษพลศาสตร์[วิทยานิพนธ์].คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก www.med.mahidol.ac.th.
8. กรมส่งเสริมวิชาการเกษตร.จำนวนผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรปี 2559 [อินเตอร์เน็ต]. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร: [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก www.agriinfo.doae.go.th.
9. สำนักงานการเกษตรจังหวัดลำพูน. สภาวะเศรษฐกิจจังหวัดลำพูน [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก www.lamphun.go.th
10. สาธารณสุขอำเภอบ้านโฮ่ง. รายงานการดำเนินโครงการป้องกันและเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดลำพูน.ลำพูน:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ลำพูน; 2562.
11. Taro Yamane. Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications; 1973.
12. Best, J. W.Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall; 1981.
13. พัตราภรณ์ ณะแก้ว.การศึกษาสถานะสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงของเกษตรกรที่ใช้สารกาจัดศัตรูพืช ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2560.
14. อุเทน ชัยวงค์. ปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ชนิด Carbofuran,Dicrotophos, EPN และ Methomyl ที่มีผลต่อภาวะสุขภาพของเกษตรกร ในเขตพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ[วิทยานิพนธ์]. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสร้างเสริมสุขภาพ.อุบลราชธานี:มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2555.
15. พิสิษฐ์ อัจฉฤกษ์. ความต้องการฝึกอบรมการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542.
16. ปัทมา เมี่ยงมุกข์. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรปลูกผักในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร. กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2558.
17. จิว เชาว์ถาวร.ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของเกษตรกรปลูกหอมแดงตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัย. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.
18. ธนิตา สุกิน.การรับรู้ภาวะสุขภาพและความตระหนักต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้าน ห้วยขอน ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-10