ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพระปกเกล้า

ผู้แต่ง

  • ศิวฉัตร์ ศิรสิทธิ์นฤวัต โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
  • พาณี สีตกะลิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • พรทิพย์ กีระพงษ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

บรรยากาศองค์กร, คุณภาพชีวิตการทำงาน, พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพระปกเกล้า

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2) ระดับบรรยากาศองค์กรของโรงพยาบาลพระปกเกล้า 3) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพระปกเกล้า และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลบรรยากาศองค์กรกับ คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพระปกเกล้า ประชากรคือพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพระปกเกล้า จำนวน 537 คน กลุ่มตัวอย่างได้โดยการสุ่มแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนได้จำนวน 277 คน เครื่องมือ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล บรรยากาศองค์กร และคุณภาพชีวิตการทำงาน สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าพิสัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 42 ปี สถานภาพ โสด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยใน ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานระหว่าง 10-18ปี เป็นข้าราชการ รายได้ 20,001-30,000 บาท/เดือน 2) บรรยากาศองค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับรายด้านโดยเฉพาะด้านการเปิดโอกาสให้เรียนรู้โดยการทดลองอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับสูง 3) ภาพรวมคุณภาพชีวิตการทำงาน อยู่ในระดับสูง ยกเว้นด้านการมีสุขภาพดี มีใฝ่รู้ดี ด้านการบริหารการใช้เงินเป็นและการมีสังคมดี ที่อยู่ในระดับปานกลาง 4) ปัจจัยบรรยากาศองค์กรด้านการทำงานเป็นทีม ความรับผิดชอบในงาน การเปิดโอกาสให้เรียนรู้โดยการทดลอง และระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตพยาบาลวิชาชีพ ระยะเวลาในการทำงานถึงมีความมั่นคงในงานมีความพัฒนาการทางด้านตำแหน่งหน้าที่ โดยมีปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตเรียงตามข้อมูลที่ได้คือ การทำงานเป็นทีม ความรับผิดชอบในงาน การเปิดโอกาสให้เรียนรู้โดยการทดลอง ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพระปกเกล้า ข้อเสนอแนะ การศึกษาเรื่องคุณภาพชีวิตในการทำงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในหน่วยงานภาครัฐยังอยู่ในวงจำกัด ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นในด้านความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานใน 3 ประการ คือ 1.ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานต่อสภาพแวดล้อม ระบบและบรรยากาศในการทำงาน 2. สวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมให้เหมาะแก่ความต้องการของแต่ละหน่วยงาน 3. ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรในทีมการทำงานและองค์กร

References

1. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สาธารณสุข. กรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับชาติ ปี 2554-2558. กรุงเทพฯ; 2554: หน้า 184-186
2. กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลที่ปฏิบัติการพยาบาลในโรงพยาบาล.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2539.
3. วิจิตร ศรีสุพรรณ และกฤษณา แสวงดี. ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล. วารสารการพยาบาล; 2555: หน้า 8-10.
4. อรุณรัตน์ คันธา และ รัชนี ศุจิจันทรรัตน์. พยาบาลความผูกพันต่อองค์การ คุณภาพชีวิตการทำงานวัฒนธรรมองค์การ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555: หน้า 7-17.
5. สมสมัย สุธีรศานต์ และจินตนา วรรณรัตน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลาออก โอนย้ายของพยาบาลวิชาชีพฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551: หน้า 145-159.
6. คณะกรรมการลูกค้าสัมพันธ์โรงพยาบาลพระปกเกล้า.รายงานการสำรวจความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลพระปกเกล้า. โรงพยาบาลพระปกเกล้า; 2555.
7. Cohen & Uphoff. Effective Behavior in Organizations. New York: Richard D. Irwin Inc; 1980.
8. จรณิต แก้วกังวาล และประตาป สิหสิวานนท์. ตำราการวิจัยทางคลินิก บทที่ 4. กรุงเทพฯ: คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
9. มาสริน สกุลปักษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงานและบรรยากาศองค์กรต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงานและบรรยากาศองค์กรต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ; 2552: 5(1). 32-39.
10. พัทยา แก้วแพง. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสงขลานครินทร์.สงขลานครินทร์เวชสาร; 2548: 24 (2). หน้า 112-116.
11. Steer.R.M. and Porter,L. Motivation and Work Behavior.New. York:McGraw-Hill; 1979.
12. Litwin,G.H., & Stringer.R.A. Motivation and Organization Climate. Bonton: Havard University Press; 1968.
13. ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. การบริหารคนต่างรุ่นในองค์กร. 2552. (Online). สืบค้นจากhttp.//www.hri.tu.ac.th./cms/seminardetail.aspx.tid+MTOx/.
14. Frederickson,G.H. New Public Administration Alabama the University of Alabama Press; 1980.
15. Huse, E.F. and Cumming, T.g. Organization Development and Chang. 3rded. Minnesota: West Publishing; 1985.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-10