ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล การเสริมพลังอำนาจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการจัดระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
กองทุนสุขภาพตำบล, การเสริมพลังอำนาจ, การจัดระบบสุขภาพชุมชนจังหวัดเชียงรายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล การเสริมพลังอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการจัดระบบสุขภาพชุมชน จังหวัดเชียงราย วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) โดยใช้เครื่องมือทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ประชากร คือ กองทุนสุขภาพตำบลทั้งหมด 143 แห่ง โดยตัวแทนประชากรที่ศึกษาคือ ผู้แทนคณะกรรมการบริหารกองทุนสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประธานกรรมการบริหารกองทุนหรือเลขานุการกองทุน จำนวนทั้งสิ้น 143 คน เลือกแบบจำเพาะเจาะจง เก็บข้อมูลระหว่าง วันที่ 1 มีนาคม–31 พฤษภาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงวิเคราะห์ได้แก่ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษา การบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.93, SD = 0.525) การเสริมพลังอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.79, SD = 0.569) และการจัดระบบสุขภาพชุมชนอยู่ในระดับดี (Mean =17.69) การบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับการเสริมสร้างพลังอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (r= .652**, p-value <0.001) สรุป การบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงกับการเสริมพลังอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการที่ อปท. ได้รับการสนับสนุน ได้รับข้อมูลข่าวสาร ได้รับทรัพยากรและได้รับโอกาสในงาน ขณะเดียวกันกองทุนสุขภาพตำบลยังหนุนเสริมการจัดระบบสุขภาพชุมชนทั้งมิติการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพและรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ทั้งนี้ผู้บริหารสปสช.ควรให้ความสำคัญกับการเสริมพลังอำนาจ อปท. ในการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลอย่างเหมาะสม และการให้ผลสะท้อนกลับ แก่ อปท. ในเชิงบวก เช่น ให้การยอมรับ ยกย่องชมเชย ให้การสนับสนุนหรือจัดสรรทรัพยากรทั้งคน เงิน ของในการทำงานให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ ตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กล่าวคือกองทุนต้องสนับสนุนระบบสุขภาพชุมชน นำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชนต่อไป
References
2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แผนงานสนับสนุนระบบสุขภาพชุมชน; 2559. สืบค้นจาก www.nhso.go.th
3. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. กรุงเทพฯ:
ศรีเมืองการพิมพ์; 2557.
4. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น/พื้นที่ ;2561. สืบค้นจาก http://obt.nhso.go.th/
5. Kanter, (1997) อ้างถึงใน อารีวรรณ อ่วมตานี. การเสริมสร้างพลังอำนาจในระบบบริการพยาบาล.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
6. รุ่งเรือง แสนโกษาและคณะ. รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 7.วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาสารคาม; 2555.
7. สมเกียรติ ธรรมสาร. การประเมินผลโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2547.
8. ศรศักดิ์ บุญมั่น. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี; 2551.
9. วรรณา ทองกาวแก้ว.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัด ยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต(บริหารสาธารณสุข) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554.
10. รจนาถ ชูใจ. รายงานผลการวิจัยผลการดําเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตําบลสวนหลวง. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2551.
11. ณัทภร ไชยวงค์. การประเมินระบบประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในอำเภอเวียงป่าเป้าจังหวัดเชียงราย.ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. วิทยาลัยการปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น; 2556.
12. ธีระศักดิ์ กิตติคุณ. การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดตรัง .วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา; 2556.
13. เลียง ผาธรรม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ทัศนคติและการมีส่วนร่วมดำเนินการของกองทุนสุขภาพท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสุขภาพภาคประชาชนอีสาน; 2550: 24(3), 43-47.
14. ชาญชัย ชัยสว่าง. การพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2552.
15. สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ และคณะ. การศึกษาผลของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลต่อการเสริมพลังอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนในการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน. สถานบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2554.
16. รัชนี สรรเสริญ. คุณภาพการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในชุมชนบทเรียนรู้จากไทย. วารสารการพยาบาลและ การศึกษา; 2551: 3(3).
17. ปิยะนุช เนื้ออ่อน. ปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของคณะกรรมการ บริหารระบบหลักประกันสุขภาพในจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.
18. กนกภรณ์ อ่วมพราหมณ์ และคณะ. การวิจัยประเมินผลการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น จังหวัดเพชรบุรี.วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า: เพชรบุรี; 2549: หน้า 75.
19. Hackman JR, Oldham GR. Work Redesign. MA: Addison-Wesley; 1980.
20. อุดม ตรีอินทอง. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างพลังการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในเขตตำบลดอนตูม จังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาสารคาม; 2552.
21. สุพัฒน์ กองศรีมา. ประสิทธิผลการดำเนินงานกองทุนสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัญฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น; 2552.
22. พรเทพ มิ่งมาลัยรักษ์. ศูนย์หลอดเลือดสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลศิครินทร์. เช็กอาการเปลี่ยนชีวิต ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เฉียบพลัน .[ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2560 จาก https://health.kapook.
com/view89057.html