รูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย

ผู้แต่ง

  • อังคณา วงศ์แสนสี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ธีระวุธ ธรรมกุล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สมโภช รติโอฬาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, อาการกำเริบเฉียบพลัน, ความร่วมมือในการใช้ยา

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) รูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย (2) เปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจากอัตราการกำเริบเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน และสมรรถภาพปอด และ (3) เปรียบเทียบความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จำนวน 72 คน เก็บข้อมูลปี พ.ศ. 2558 และ 2560 เครื่องมือที่ใช้คือแบบบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อัตรา ความแตกต่างของอัตรา และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งได้พัฒนาการบริการสุขภาพ และเน้นการสร้างเครือข่ายในการดูแลรักษาทั้งทีมบุคลากรทางการแพทย์ ชุมชน และครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 72 คน ที่มีประวัติเข้ารับรักษาด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย ระหว่างปี 2558 - 2560 มีอัตราการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันจากจำนวนคนที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินลดลง อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(p= 0.73) และอัตราการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันจากจำนวนครั้งที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินสูงขึ้น อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(p= 0.15) แต่เมื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพปอดจากค่าเฉลี่ย FEV1(%Predicted) พบว่ารูปแบบพัฒนาแล้วสูงกว่ารูปแบบเดิมแสดงถึงผู้ป่วยสมรรถภาพปอดดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( p< 0.05)  และ ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังรูปแบบพัฒนาแล้วมีแนวโน้มสูงขึ้น

References

1. Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. Global strategy for the diagnosis, management, and prevention of chronic obstructive pulmonary disease [online]. 2017. [cited 2017 Dec 2]. Available from: URL: https://goldcopd.org/guidelineitem.asp
2. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วย พ.ศ. 2559; 2560.
3. กองสถิติสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2559.กรุงเทพฯ; 2560.
4. คณะทำงานจัดทำรายงานประจำปี สำนักโรคไม่ติดต่อ ปี 2560. รายงานประจำปี 2560. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; [ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์].
5. งานแผนงานและประเมินผล. รายงานประจำปี 2559 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย. แพร่; 2560.
6. Hunter et al. Patient characteristics associated with risk of first hospital admission and readmission for acute exacerbation of chronic obstructive pulmonary disease(COPD) following primary care COPD diagnosis: a cohort study using linked electronic patient records. BMJ Journals. 2015;4(12):1-9
7. จเร บุญเรือง, จอม สุวรรณโณ, เจนเนตร พลเพชร, เรวดี เพชรศิราสัณห์, และลัดดา เถียมวงศ์. ปัจจัยทำนายการกำเริบฉับพลันรุนแรงในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. (2560); 28(1): 111-128.
8. สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สํานักตรวจและประเมินผล. แผนตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560; 2559. หน้า 173-182.
9. รายงานการประชุมคณะกรรมการทีมนำทางคลินิก (Patient care team) ครั้งที่ 2/2557. แพร่. คณะกรรมการทีมนำทางคลินิก; 2557.
10. คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย. บัญชีรายการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย ปีงบประมาณ 2557. แพร่; 2557.
11. รายงานการประชุมคณะกรรมการระบบริการสุขภาพสาขาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระดับอำเภอเด่นชัย ครั้งที่ 1/2560. แพร่. คณะกรรมการระบบริการสุขภาพสาขาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระดับอำเภอเด่นชัย; 2560.
12. จุฬาลักษณ์ โรจนวิภาต. ผลของโปรแกรมการรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังซับซ้อน โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน. ลำปางเวชสาร. 2559;37(2):33-45.
13. จิราพร รักษายศ, ศิริเพ็ญ สิทธิบรรณ์. ผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในคลินิกคนรักษ์ปอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2556;22(6):973-978.
14. ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล, เตือนใจ ภูสระแก้ว, แสงเดือน ศุภอุดร. ผลลัพธ์การจัดคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2556; 28(4): 524-529.
15. พิเชษฐ พัวพันกิจเจริญ. การเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครนายก. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal. 2551; 3(1): 73- 79.
16. ปิยะวรรณ กุวลัยรัตน, ภารดี มยาเศส, อนุ ทองแดง. การประเมินผลลัพธ์ในการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลชุมชนประเทศไทย. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2557; 10(1): 80-92.
17. พนมพร จันละออ, นรินทร์ จินดาเวช, วิสาขา บุญทศ. ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อความร่วมมือในการใช้ยาพ่นและสมรรถภาพปอด ในคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต. 2559; 36(2): 45-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-19