การพัฒนากระบวนการเบิกชดเชยค่าบริการสาธารณสุขในระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชนกพร ภูมิการีย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การเบิกชดเชยค่าบริการสาธารณสุข, กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อการพัฒนากระบวนการเบิกชดเชยค่าบริการสาธารณสุขในระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 169 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาการดำเนินงานครั้งนี้ ทำให้ได้กระบวนการเบิกชดเชยค่าบริการสาธารณสุขในระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมใหม่ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ทันเวลา และครบถ้วน โดยจากการตรวจสอบความถูกต้องของการให้รหัสโรคและรหัสหัตถการ พบว่า อัตราความถูกต้องของการให้รหัสโรคและรหัสหัตถการผู้ป่วยในเท่ากับร้อยละ 93.33 สามารถส่งข้อมูลเบิกชดเชยค่าบริการผู้ป่วยในได้ทันเวลาที่กำหนดร้อยละ 100.00 และหลังจากการพัฒนาพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงความรู้ การปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจต่อการเบิกชดเชยค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งจากกระบวนการพัฒนาส่งผลให้การเบิกชดเชยและขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น และสามารถดำเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

References

1. วรพจน์ พรหมสัตยพรต. เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 13. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์; 2560.
2. ศูนย์พัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย (ศรท.) เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. การเปลี่ยนแปลงสำคัญในกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับที่ 6.1. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560.
3. อรทัย เขียวเจริญ, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย, ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร, เบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์ และนิชนันท์ รอดเนียม. การพัฒนากลุ่มโรคร่วมผู้ป่วยในจิตเวช ฉบับที่ 3. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12(1): 95–112.
4. ฝ่ายเวชระเบียน โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (Curative Services). อุบลราชธานี: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์; 2560.
5. วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action Research. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี 2558; 2(1): 43-49.
6. ส้มแป้น ศรีหนูขำ และคณะ. การศึกษาการสรุปรหัสคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของค่ารักษาพยาบาลตามระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน. สังคมศาสตร์บูรณาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2557) หน้า 113-131.
7. พิรุฬห์พร แสนแพง. การปฏิบัติงานเวชระเบียนผู้ป่วยในกับการเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2555.
8. เพ็ญประภา พรศรีเมตต์, กนกรัตน์ ไสยเลิศ. การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการเบิกชดเชย ค่าบริการสาธารณสุขในระบบ Diagnosis Related Groups. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2559; 25(5): 15-25.
9. วิลาสินี จิตคติ. การพัฒนารูปแบบการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกองทุนย่อยผู้ป่วยในระดับเขตของโรงพยาบาลคูเมือง อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2556; 7(1): 86–92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-19