อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการโรงพยาบาลขอนแก่นราม

ผู้แต่ง

  • เสาวณีย์ ตรีเดช โรงพยาบาลขอนแก่นราม
  • พาณี สีตกะลิน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เชาว์ โรจนแสง สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, บริการของโรงพยาบาล, กระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาการวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนประสมทางการตลาดบริการตามความคิดเห็นของผู้รับบริการ ระดับความสำคัญของการตัดสินใจใช้บริการสุขภาพ ตามกระบวนการตัดสินใจผู้รับบริการ และปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับบริการและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อผลการตัดสินใจใช้บริการ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกที่รับบริการทุกวัน เวลา 8.00-20.00 น. จำนวน 34,924 คนต่อปี การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ คำนวณได้จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ประกอบด้วยปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนประสมการตลาด และการตัดสินใจเลือกใช้บริการ ด้วยค่าความตรง 0.83 และความเที่ยง 0.97 สถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 246 คน อายุเฉลี่ย 41.14 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย มีรายได้เฉลี่ย 10,001-20,000 บาทต่อเดือน ชำระค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเอง เป็นผู้ป่วยเก่า ใช้บริการแผนกอายุรกรรมมากที่สุด ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับมาก ระดับความสำคัญของการตัดสินใจใช้บริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นด้านการค้นหาข้อมูลอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลมีอิทธิพลในทิศทางเดียวกันต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ คืออาชีพธุรกิจส่วนตัวค้าขาย การศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีและประสบการณ์การเข้ารับบริการ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลในทิศทางเดียวกันต่อการตัดสินใจใช้บริการประกอบด้วยด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด

References

1. สุรชาติ ณ หนองคาย. ธรรมาภิบาลการกำกับดูแลตนเองที่ดี. ใน: อารมย์ ฤกษนุ้ย, บรรณาธิการผู้ช่วย. ประมวลสาระชุดวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554. หน้า 27.
2. ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานรากธนาคารออมสิน. [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gsb.or.th/getattachment/34b1fbf3-5b50-472a-9551-9b86f8f57bab/IN_hospital_61_detail.aspx.
3. วิชาญ เกิดวิชัย. กลยุทธ์การจัดการด้านลูกค้า. ใน: ฝ่ายวิชาการ, บรรณาธิการผู้ช่วย. ประมวลสาระชุดวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554. หน้า 70.
4. ปิยะมาศ จำรัสธนสาร. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้รับบริการในการเลือกใช้บริการสุขภาพแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2553.
5. ชูชาติ ไชยพิณ. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจใช้บริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยในสถานพยาบาลเอกชนฝั่งธนบุรี [วิทยานิพนธ์]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2552.
6. Yaghubian S, Mahmoudi G, Tiji MJ. Effect of marketing mix (7Ps) on patients , tendency to University and social security hospitals in Mazandaran. BBRC [Internet]. 2016. [cited 2018 Dec 15]. Available from: http//www.bbrc.in/
7. เบญจมาศ มาพบสุข. กลยุทธ์การตลาดบริการโรงพยาบาลเอกชนที่มีผลต่อผู้ใช้บริการ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต; 2550
8. ชลลดา บุญมา. พฤติกรรมการใช้บริการและความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกต่อส่วนประสมทางการตลาดของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น [การศึกษาอิสระ]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-19