การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการ องค์การบริหารส่วนตำบลกุดใส้จ่อ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พัชรพร นิลนวล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นันทวรรณ ทิพยเนตร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การวิจัยปฏิบัติการ, ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, หน่วยปฏิบัติการองค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 2) ศึกษาบริบทสภาพปัญหาด้านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 3) ศึกษาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 4) ศึกษาผลการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และ 5) ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน กลุ่มเป้าหมายจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มวิชาการ 2) กลุ่มภาคการเมือง และ 3) กลุ่มตัวแทนภาคประชาชน รวมทั้งหมด 115 คน มีระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนเมษายนถึงสิงหาคม พ.ศ. 2562 เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวแทนภาคประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนและหลังการพัฒนามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ส่วนในกลุ่มวิชาการก่อนและหลังการพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ในระดับความรู้สูง ร้อยละ 50.00 และ 83.33 ตามลำดับ และในกลุ่มภาคการเมืองก่อนและหลังการพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ในระดับความรู้ปานกลาง ร้อยละ 66.67 และ 100.00 ตามลำดับ การวัดระดับการมีส่วนร่วมในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของกลุ่มวิชาการก่อนและหลังการพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.00 และ 66.67 ตามลำดับ และกลุ่มภาคการเมืองก่อนและหลังการพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 50.00 และ 66.67 ตามลำดับ ส่วนระดับความคิดเห็นต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของกลุ่มภาคการเมืองก่อนและหลังการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 100.00 นอกจากนี้ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ การให้ความสนใจในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมให้สมาชิกในตำบลเข้ามาเป็นผู้ปฏิบัติงาน และการที่ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา สะท้อนปัญหา และแก้ไขปัญหาร่วมกัน

References

1. กนกพร สมพร. การประเมินผลการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดอุบลราชธานี ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556.
2. กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์. การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทเอ็กซเปอร์ เน็ทจำกัด; 2557.
3. ธกฤต จันทร์พลงาม. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานการแพทย์ฉุกเฉินในเขต พื้นที่ตำบลหัวถนน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2558.
4. นุสรีนา บินสะแหละหมัน และคณะ. สถานการณ์การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ. นราธิวาส: มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์; 2561.
5. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
6. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. รายงานสถานการณ์ระบบการแพทย์ฉุกเฉินไทย 2559. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2560.
7. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ย. 2561] เข้าถึงได้จาก : http://ws.niems.go.th/items_front/index.aspx
8. สาวิตรี ทองนุม. รูปแบบการมสีวนร่วมของชุมชนในการจัดการระบบบริการแพย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบล อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
9. สุรเชษฐ์ ฉิ่งกิตติ. การพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยใช้ทฤษฎีการสร้างพลังในบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพรันครศรีอยุธยา ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม; 2554.
10. องค์การบริหารส่วนตำบลกุดใส้จ่อ. รายงานผลการดำเนินโครงการดำเนินงานและบริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินตำบลกุดใส้จ่อ ประจำปี 2559 (ประจำปีงบประมาณ 2560). พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาสารคาม: องค์การบริหารส่วนตำบลกุดใส้จ่อ; 2560.
11. องค์การบริหารส่วนตำบลกุดใส้จ่อ. แบบบันทึกการตรวจประเมิน นิเทศ ติดตามการปฏิบัติงานหน่วยกู้ชีพพื้นฐานของหน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบลกุดใส้จ่อ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาสารคาม: องค์การบริหารส่วนตำบลกุดใส้จ่อ; 2561
12. อมรรัตน พงษประเสริฐ. การจัดการแบบมีสวนร่วมเพื่อเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในองคการบริหารสวนตำบลของหนองแคน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหารปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.
13. อรรถวิทย์ โสแพทย์. การพัฒนารูปแบบดำเนินงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินในชุมชน ตำบลหนองไทรอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรมัย์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-19