ผลของการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สถานการณ์จำลองต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติทักษะการช่วยฟื้นคืนชีวิตขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • อัญชนา จุลศิริ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ธัญพร ชื่นกลิ่น วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ผกามาศ พีธรากร วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • คมสัน แก้วระยะ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ที่ใช้สถานการณ์จำลอง, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, การปฏิบัติทักษะการช่วยฟื้นคืนชีวิตขั้นสูง

บทคัดย่อ

นักศึกษาพยาบาลมีโอกาสน้อยในการฝึกปฏิบัติทักษะการช่วยฟื้นคืนชีวิตขั้นสูง ทำให้การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติทักษะดังกล่าวน้อย จึงขาดความมั่นใจในการลงมือปฏิบัติเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์จริง ผลการวิจัยส่วนใหญ่สนันสนุนว่า การเรียนรู้การช่วยฟื้นคืนชีวิตโดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation-based learning: SBL) จะช่วยพัฒนาความรู้ ทำให้คุ้นเคยกับอุปกรณ์และขั้นตอนต่างๆ ของการช่วยฟื้นคืนชีวิต จึงช่วยเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเอง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สถานการณ์จำลองต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติทักษะการช่วยฟื้นคืนชีวิตขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 70 คน ใช้สถานการณ์จำลองเกี่ยวกับผู้ที่มีปัญหาของหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 2 สถานการณ์ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 ชั่วโมง 40 นาที ประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองก่อนและหลังใช้สถานการณ์จำลองด้วยแบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติทักษะการช่วยฟื้นคืนชีวิตขั้นสูง (ACLS) วิเคราะห์คะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติทักษะการช่วยฟื้นคืนชีวิตขั้นสูงด้วย paired t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 21.09 และร้อยละ 70.77 ไม่เคยเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง มีค่าเฉลี่ยต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติทักษะการช่วยฟื้นคืนชีวิตขั้นสูงก่อนและหลังเล่นสถานการณ์ทุกด้าน เท่ากับ 29.57 และ 66.62 ตามลำดับ โดยหลังใช้สถานการณ์จำลองมีค่าเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติทักษะการช่วยฟื้นคืนชีวิตขั้นสูง (ACLS) สูงกว่าก่อนใช้สถานการณ์จำลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า การจัดการเรียนรู้ที่ใช้สถานการณ์จำลองน่าจะทำให้นักศึกษาพยาบาลรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติทักษะการช่วยฟื้นคืนชีวิตขั้นสูงได้ดีขึ้น ดังนั้นผู้สอนจึงควรจัดการเรียนรู้ที่ใช้สถานการณ์จำลองเกี่ยวกับการปฏิบัติทักษะการช่วยฟื้นคืนชีวิตขั้นสูงก่อนฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยและควรใช้การจัดการเรียนรู้ที่ใช้สถานการณ์จำลองเป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาทักษะทางการพยาบาลของนักศึกษา

References

1. Broussard L, Myers R, and Lemoine J. Preparing pediatric nurses: The role of simulation-based learning. Issues in Comprehensive Pediatric Nursing 2009; 32:4-15.
2. Ying LS. Intergration of simulation-based learning in the nursing programme: A reflection. Singapore Nursing Journal 2011; 38:28-31.
3. Hamilton R. Nurses’ knowledge and skill retention following cardiopulmonary resuscitation training: a review of the literature. Journal of Advanced Nursing 2005;51: 288-97.
4. Wayne DB, Didwania A, Feinglass J, Fudala MJ, Barsuk JH, & McGaghie WC. Simulation-Based Education improves quality of care during cardiac arrest team responses at an academic teaching hospital a case-control study. CHEST 2008; 133:56-61.
5. Aldosary FF. The use of high-fidelity mannequin training to improve the quality of healthcare providers’ performance of CP. J Transl Sci 2018; 4:1-5.
6. Roh YS, Lim EJ, & Issenberg SB. Effects of an integrated simulation-based resuscitation skills training with clinical practicum on mastery learning and self-efficacy in nursing students. Collegian 2016; 23:53-9.
7. มาลี คำคง ผาณิต หลีเจริญ ยุวนิดา อารามรมย์ และอริสา จิตต์วิบูลย์. ผลของการใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจในความสามารถของตนเองในการดูแลและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับผู้ป่วยวิกฤติ-ฉุกเฉินของนักศึกษาพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3:52-64.
8. Wang C, Huang C-C, Lin S-J, & Chen J-W. Using multimedia tools and high-fidelity simulations to improve medical students’ resuscitation performance: an observational study. BMJ Open 2016; 6:e012195.
9. Bandura A. Self-Efficacy the exercise of control. U.S.A.: W.H.Freeman and company; 1997.
10. Lenz ER & Shortridge-Baggett LM. Self-Efficacy in Nursing Research and Measurement Perspectives. U.S.A.: Maple-Vail Book Manufacturing Group; 2002.
11. Faul F, Erdfelder E, Lang A-G, & Buchner A. G* Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007; 39:2:175-91.
12. สุพรรณี กัณหดิลก และ ตรีชฎา ปุ่นสำเริง. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง: การออกแบบการเรียนรู้ทางการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2559;9:1-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-19