การพัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์ไล่ยุงกลิ่นสมุนไพร สำหรับประชาชนในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • อำพล บุญเพียร วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • ประณต ชาเครือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
  • จันทรา วันพิรุณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
  • ชนกธิดา ลิไธสง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

ดอกไม้ประดิษฐ์, ไล่ยุง, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ่อวิน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์สถานการณ์และสภาพปัญหาของการใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง พัฒนาดอกไม้ประดิษฐ์ไล่ยุงกลิ่นสมุนไพร และศึกษาความพึงพอใจของการใช้ดอกไม้ประดิษฐ์ไล่ยุงกลิ่นสมุนไพร กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครอายุ 20 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 100 คนที่ได้จากการคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วย แบบสนทนากลุ่ม ดอกไม้ประดิษฐ์ไล่ยุงกลิ่นสมุนไพร แบบประเมินคุณภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลการสนทนากลุ่มโดยวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจ โดยหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนมีความต้องการผลิตภัณฑ์ไล่ยุงจากน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ ง่ายต่อการใช้งาน ลดการสัมผัสกับผิว และสามารถประดับตกแต่งที่พักอาศัยได้ ผู้วิจัยจึงพัฒนาเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ไล่ยุงกลิ่นสมุนไพรซึ่งกลีบดอกทำมาจากผ้าใยบัว ตัวก้านเป็นไม้หวาย ขวดบรรจุเป็นขวดแก้วสีชา ภายในขวดบรรจุน้ำมันหอมระเหยตะไคร้ร้อยละ 100 จำนวน 10 มิลลิลิตร เอทิลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นร้อยละ 70 จำนวน 20 มิลลิลิตร พร้อมคู่มือการใช้งาน โดยอาสาสมัครมีความพึงพอใจต่อการใช้ดอกไม้ประดิษฐ์ไล่ยุงกลิ่นสมุนไพรภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.13, SD=0.18) ดังนั้นดอกไม้ประดิษฐ์ไล่ยุงกลิ่นสมุนไพรสามารถเป็นทางเลือกในการไล่ยุงของประชาชนได้

References

1. Khonkaen Science Center for Education. Insect; 2018 [cited 2019 Sep 15]. 2p. Available from:http://www.kksci.com/elreaning/malan/page/e-lokron_1.html
2. Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Weekly EpidemicologicalSurvcillance Report Thailand; 2017 [cited 2017 Feb 13]. 3p. Available from: www.thaivbd.org/n/uploads/file/file_PDF/Dengue/2560/DHF%2021.pdf
3. Department of disease control. Malaria situation [Internet]. Bangkok. Department of disease control; 2010 [cited 2017 Feb 13]. 3p. Available from: http://www.thaivbd.org/ cms/ index.php
4. Department of disease control. Lymphatic filariasis [Internet]. Bangkok. Department of disease control; 2012 [cited 2017 Feb 13]. 6p. Available from:www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2012/main/AESR55_Part1/.../0755_ Filariasis.pdf
5. Department of disease control. Encephalitis [Internet]. Bangkok. Department of disease control; 2012 [cited 2017 Feb 13]. 6p. Available from: www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2012/main/AESR55.../0155_Encephalitis.pdf
6. Department of disease control. Chikungunya fever [Internet]. Bangkok. Department of disease control; 2010 [cited 2017 Feb 13]. 5p. Available from: www.boe.moph.go.th/ Annual/AESR2012/main/AESR55.../ 0655_Chikungunya.pdf
7. TanprasertS.Effectiveness of the dengue hemorrhagic fever prevention and control program using community participation. Disease Control Journal 2018;44(2): 185-96.
8. Department of disease control. Dengue fever [Internet]. Bangkok. Department of disease control; 2019 [cited 2019 Apr 19]. 23 p. Available from: https://ddc.moph.go.th/th/site/disease/detail/44/symptom
9. Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Weekly EpidemicologicalSurvcillance Report Thailand 2015;46: 129-43.
10. Department of disease control.Dengue fever situation[Internet]. Bangkok. Department of disease control; 2019 [cited 2019 Apr 19]. 23 p. Available from:https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/6f4922f45568161a8cdf4ad2299f6d23/files/Dangue/Situation/2561/DHF%2052(1).pdf
11. Bureau of Epidemiology.Epidemiological surveillance results Chonburi province. In: Chonburi Provincial Health Office. Epidemiological. 2019 Mar 29. Viriyakja Meeting Room, Chonburi Provincial Public Health Office.
12. HanphakphoomS., KunhachanPh.,BhakdeenuanP.,ThophonS.,KrajangsangS., ChompoosriJ., TawatsinA.Larvicidal and Repellent Activities of Crude Extracts and Essential Oils from Eupatorium odorata Against Aedesaegypti, Culexquinquefasciatus and Anopheles dirus B. SDU Res. J. 2007; 10(3): 129-57.
13. Interview with people in the responsible area of Bowin Health Promoting Hospital, Si Racha District, Chon Buri Province, 19 February 2019.
14. BenjawanTuetun. The effectiveness of standard mosquito repellent products against Ae. Aegypti mosquito repellent and chemical sensitive strains of pyrethroid group. Bangkok: SuanDusit University; 2015.
15. Pollution Management Department. Strategy to reduce waste utilization. Bangkok: Ministry of Natural Resources and Environment; 2007.
16. AmolayaSuchivoraphanpong. Effectiveness of Essential Oil of AlpiniaofficinarumHance in Repellency against Aedesaegypti and Culexquinquefasciatus [Master thesis M.S. Dermatology]. Bangkok: Srinakharinwirot University; 2011. 176.
17. Piboon S.Research Methodology for Research Development for Enterprise Development. Nonthaburi: Chatupon design; 2008.
18. OngiemA., VichitvejpaisalPh. Validation of the Tests. Thai J Anesthesiology 2018; 44(1): 36-42.
19. SrihawattanakulP., ThaitiangA., JaitonA., YordonK., Yunsan A. Development of artificial flowers creative made from PA-KAO-MA cloth. Faculty of Home Economics Technology, Rajamangala University of TechonologyPhraNakhon; 2016.

เผยแพร่แล้ว

2020-07-19