การเปรียบเทียบกระบวนการบริหาร ความรู้ของบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย และระดับการจัดบริการ กับผลการจัดบริการตามมาตรฐานการบริการการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ผู้แต่ง

  • พยงค์ ศรีเจริญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • อำพล ปานเพชร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

คำสำคัญ:

กระบวนการบริหาร, ความรู้, มาตรฐานการจัดบริการการแพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทย ความรู้ของบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยและระดับการจัดบริการตามมาตรฐานการบริการการแพทย์แผนไทย กับผลการจัดบริการตามมาตรฐานการบริการการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 174 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบค่าที  ผลการวิจัย พบว่า การปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารแตกต่างกัน ทำให้ผลการจัดบริการตามมาตรฐานการบริการการแพทย์แผนไทยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่ความรู้ที่แตกต่างกันทำให้การจัดบริการตามมาตรฐานการบริการการแพทย์แผนไทยไม่แตกต่างกัน และระดับการจัดบริการการแพทย์แผนไทยที่แตกต่างกัน ทำให้ผลการจัดบริการตามมาตรฐานการบริการการแพทย์แผนไทยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยผลการจัดบริการตามมาตรฐานการบริการการแพทย์แผนไทยระดับ 2 สูงกว่าระดับ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่า สถานที่ให้บริการการแพทย์แผนไทยไม่เป็นสัดส่วน มีเครื่องใช้ไม่ครบตามเกณฑ์มาตรฐานและขาดการสนับสนุนจากท้องถิ่น ข้อเสนอแนะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรจัดพื้นที่ให้บริการการแพทย์แผนไทยแยกจากการแพทย์แผนปัจจุบัน และส่งเสริมการประสานงานกับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดบริการการแพทย์แผนไทยเพิ่มมากขึ้น

References

1. คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ.2549. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2549.
2. ปรีชา ช.พงศ์ภมร. ตำรายาแผนโบราณ. กรุงเทพมหานคร: ทวีพิมพ์ดี; 2543.
3. ปรีดา ตั้งตรงจิตร. วิชาพื้นฐานเกี่ยวกับการนวดไทย. กรุงเทพมหานคร: นำอักษรการพิมพ์ สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2535.
4. ศิริวรรณ เสรีรัตน์. องค์กรและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร; 2545.
5. กองการพยาบาล. แนวทางการจัดบริการปฐมภูมิ. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุม; 2545.
6. Downey, W. David, & Erickson. AGRIBUSINESS MANAGEMENT. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1987.
7. Bloom. All Our Children Learning. New York: McGraw-Hill; 1981.
8. Bruner. The Culture of Education. Cambridge: MA: Harvard University Press; 1996.
9. วงเดือน ปั้นดี. การเตรียมข้อมูลการวิจัย ใน ประมวลสาระชุดวิชาสถิติและระเบียบวิธีวิจัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2547.; 179- 255
10. ศิรินันท์ ทิมคำ. ระบบการให้บริการการแพทย์แผนไทย:กรณีศึกษาสถานพยาบาลและสมาคมแพทย์แผนโบราณในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.
11. อมตา จันทร์ปาน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการพัฒนาสถานีอนามัยในโครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัยของจังหวัดนครศรีธรรมราช [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข) แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ] นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2545.
12. ดลิชา ชั่งสิริพร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข) แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ] นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2545.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-19