ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษาของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6

ผู้แต่ง

  • อัญชนา กิจแก้ว สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นิตยา เพ็ญศิรินภา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • พรทิพย์ กีระพงษ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข, การเสริมพลัง, การส่งเสริมทันตสุขภาพ, นักเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมพลังอำนาจ และการสนับสนุนของโรงพยาบาลแม่ข่าย (2) การดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษา (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การเสริมพลังอำนาจ และการสนับสนุนของโรงพยาบาลแม่ข่าย กับการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษา และ (4) ปัญหา อุปสรรคข้อเสนอแนะ การดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษา เขตสุขภาพที่ 6 ประชากรที่ศึกษา คือเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 334 คน กลุ่มตัวอย่าง 200 คน สุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนแต่ละจังหวัด  เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามมีความเที่ยง เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 30.97 ปี ศึกษาระดับปริญญาตรี ปฏิบัติงานตำแหน่งข้าราชการ ได้รับการฝึกอบรมในรอบ 1 ปี ร้อยละ 40.0 การเสริมพลังอำนาจและการสนับสนุนของโรงพยาบาลแม่ข่าย อยู่ในระดับปานกลาง (2) การดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในระดับสูง  (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเสริมพลังอำนาจ (p<0.001)  และการสนับสนุนของโรงพยาบาลแม่ข่าย (p=0.003) และ (4)  ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนประถมศึกษา   คือ กรอกข้อมูลซ้ำซ้อน ระบบการเก็บข้อมูลไม่เป็นมาตรฐาน ผู้ช่วยทันตกรรมมีจำนวนไม่เพียงพอ และข้อเสนอแนะ ควรมีการเสริมพลังอำนาจของผู้บริหารและการสนับสนุนของโรงพยาบาลแม่ข่ายอย่างต่อเนื่องเพื่อการปฏิบัติงานที่ดียิ่งขึ้น ควรมีโปรแกรมในการเก็บข้อมูลที่มีมาตรฐาน และจัดสรรงบประมาณในการทำเรื่องจ้างผู้ช่วยทันตกรรม

References

1. กระทรวงสาธารณสุข.กรมอนามัย. สำนักทันตสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี; 2561.
2. สำนักงานเขตตรวจราชการสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 6. รายงานสถานการณ์การดำเนินงานทันตสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 6; 2560.
3. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพระดับประเทศครั้งที่ 8 . กรุงเทพฯ ; 2552.
4. กระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการให้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ: บริษัททีคิว จำกัด; 2552.
5. สมาคมทันตาภิบาลแห่งประเทศไทย. ทศวรรษทันตาภิบาลไทย บันทึกทันตาภิบาลไทย. วารสารหมออนามัย. 20, 1 (กรกฎาคม – สิงหาคม); 2553.
6. Kanter, R.M. Men and women of the corporation. 2nd ed. New York Basic Book; 1993.
7. Kanter, R.M.. Frontiers of management. United States of American A Harvard Business; 1997.
8. ใจดาว คัฒทะจันทร์. การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในจังหวัดร้อยเอ็ด[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
9. มัลลิกา เทพอ่อน. แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล เขตสาธารณสุขที่ 11[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
10. นฤมล เอี่ยมพงษ์ไพบูลย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขของบุคลากรในสถานีอนมัย จังหวัดกาญจบุรี[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2553.
11. จิลาวัณย์ ชื่นรุ่งโรจน์. ปัจจยัที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในสถานบริการสาธารณสุข เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 17[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2555.
12. หนึ่งฤทัย จันทนารี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานวิจัยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดอุทัยธานี[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2551.
13. วศกร แก้วทิพย์. ปัจจัยส่วนบุคคลการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลภาคใต้[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2551.
14. สำราญ ปิตากลุดิลก. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของทันตาภิบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่ายบริการที่ 11 สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.
15.ทองหล่อ เดชไทย. หลักการบริหารงานสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2545.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-19