ความฉลาดทางสุขภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • นันทกานต์ แสนรักษ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สมคิด จูหว้า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ทวีวรรณ ศรีสุขคำ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

เบาหวาน, ความฉลาดทางสุขภาพ, การดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความฉลาดทางสุขภาพ ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 130 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความฉลาดทางสุขภาพในการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square test) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีความฉลาดทางสุขภาพในการดูแลตนเองอยู่ในระดับก้ำกึ่ง ร้อยละ 34.62 รองลงมามีความฉลาดทางสุขภาพอยู่ในระดับไม่เพียงพอ และระดับพอเพียง ร้อยละ 33.85 และ 31.53 ตามลำดับ และพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้าน การศึกษา รายได้ต่อเดือนและระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

1. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคเบาหวาน (E10-E14) ต่อประชากร 100,000 คน (รวมทุกการวินิจฉัยโรค) ปี พ.ศ.2559 - 2561 จำแนกรายจังหวัด เขตบริการสาธารณสุข และภาพรวมประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร) [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 7 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://thaincd.com/information-statistic/non-communicable-diseasedata.php.
2. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
3. Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci & Med. 2008; 67(12): 2072
4. สมฤทัย เพชรประยูร, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนิงนิจ พงศ์ถสวรกมล, ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์. อิทธิพลการรับรู้ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพและการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2557; 26(1): 38-51.
5. Wallace AS, Carlson JR, Malone RM, Joyner J, DeWalt DA. The influence of literacy on patient-reported experiences of diabetes self- management support. Nurs Res. 2010; 59(5): 356-63.
6. World Health Organization (WHO). Health literacy and health promotion definition, concepts and example in the eastern Mediterranean regoin.Individual empowerment conference working document. 7th global conference on health promoting and development. Kenya: Nairobi; 2009.
7. กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อ จังหวัดพะเยา; 2019. [เข้าถึงเมื่อ 7 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงจาก http://203.209.96.247/chronic/.
8. Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ psychol meas 1970; 30(3): 607-10.
9. วิทยา จันทร์ทา. ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
10. วรรณรัตน์ รัตนวรางค์, วิทยา จันทร์ทา. ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2561; 24(2): 34-51.
11. ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2554.
12. ปัทมาพร ธรรมผล, นพวรรณ เปียชื่อ, สุจินดา จารุพัฒน์มารุโอ. ความแตกฉานด้านสุขภาพและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ และเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2559; 34(3): 176-82.
13. Orem DE. Nursing: Concept of Practice. 6thed.. St. Louis: Mosby; 2001.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-19