รูปแบบการดูแลสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพในตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การดูแลสุขภาพ, สหสาขาวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพในตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา รูปแบบการวิจัยคือการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1)การศึกษาบริบทของชุมชน วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ และสร้างรูปแบบในการแก้ปัญหา เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ข้อมูลหลัก 2 กลุ่มคือกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ และกลุ่มอาจารย์คณะแพทยศาสตร์โดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การดำเนินการตามรูปแบบ เก็บข้อมูลจากผู้ข้อมูลหลัก 2 กลุ่มคือกลุ่มผู้ให้บริการและกลุ่มผู้รับบริการ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 3) การสร้างหมู่บ้านต้นแบบการดูแลสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพ ผลการวิจัยตามระยะพบว่า 1) บริบทชุมชนตำบลขุนควรเป็นชุมชนที่ห่างไกลจากตัวเมือง แต่มีความเข้มแข็ง ปัญหาสุขภาพคือโรคเรื้อรัง ผลการสร้างรูปแบบพบว่าคนที่เกี่ยวข้องคือ อาจารย์และนิสิตสหสาขาวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน ประชาชนจิตอาสา ผู้รับบริการ และเครือข่ายระดับอำเภอ จังหวัด แนวคิดในการทำงานคือการทำงานแบบเครือข่าย เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนและเครือข่าย ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน และเน้นการบูรณาการระหว่างการเรียนกับการปฏิบัติงานจริง กิจกรรมประกอบด้วยการสร้างเครือข่าย กระตุ้นการมีส่วนร่วม สร้างชุมชนจิตอาสา ให้บริการสุขภาพ และสร้างชุมชนต้นแบบ2) เริ่มสร้างเครือข่าย กระตุ้นการมีส่วนร่วมด้วยโครงการบริการวิชาการของคณะแพทยศาสตร์ สร้างชุมชนจิตอาสา 5 กลุ่ม คือ กลุ่มสมุนไพร นวดไทย เฝ้าระวังหมอกควันและการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช แพทย์แผนจีน และช่วยฟื้นคืนชีพ ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินการอยู่ในระดับสูง 3) สร้างชุมชนต้นแบบ 2 หมู่บ้าน เป็นการดูแลสุขภาพโดยสหวิชาชีพในชุมชน มีคณะแพทยศาสตร์ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีกิจกรรมหลักคือการคัดกรองผู้ป่วยขั้นต้น การเฝ้าระวังหมอกควันและการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่เด่นชัดคือเกิดชุมชนต้นแบบในการใช้สมุนไพร 5 ชนิด ชุมชนนวดแผนไทย และชุมชนช่วยฟื้นคืนชีพ
References
2.วิชัย เทียนถาวร. ตำรา: การสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่ = 80 Yrs c quality of life. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2555.
3. Kleinman, A. Patients and Healers in the Context of Culture. An Exploration of the Borderland between Anthropology Medicine, and Psychiatry, Berkley. London: University of California Press, 1980.
4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนควร. รายงานประจำปีงบประมาณ 2558. พะเยา ; โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนควร, 2558.
5. มหาวิทยาลัยพะเยา. คู่มือนิสิต ประจำปีการศึกษา 2558. พะเยา ; . มหาวิทยาลัยพะเยา, 2558.
6. Stufflebeam, Danial L. et al. Phi Delta Kappa national study : Education evaluation and decision making. Indiana: Phi Delta Kappa, 1977.
7. อารยา องค์เอี่ยม และ พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1522139804-07-Araya.pdf ,2561.
8. ดนัย ปัตตพงศ์. การทดสอบความเชื่อมั่นด้วย Cronbach’s alpha [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://it.nation.ac.th/faculty/danai/download/statistics%20talks7.pdf,2560.
9. John W. Best, Research in Education, 4 th ed. New Jersey: Prentice – Hall Inc., 1981.
10. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์.ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพ. [ออนไลน์] สืบค้นจาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/january-2015/health-problems-of-the-older-person,2560.
11.วรศิลป์ ผัดมาลา. กระบวนการสร้างเสริมพลังอำนาจชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 5(4) : 96-111ตุลาคม-ธันวาคม, 2562.
12.สุมาลี ประทุมนันท, อารดา สุคนธสิทธิ์ และ นคร รัตนพฤกษ มองมุมใหม่ จัดการใหม่ ในระบบสุขภาพชุมชน. กรุงเทพทหานคร : บริษัท สหมิตรพริ๊นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด, 2554.
13.วงเดือน ฦาชา, สุชัญญา เบญจวัฒนานนท์, กาญจนา เปสี และ พนิตนาฏ รักษ์มณี. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารกองการพยาบาล. 38(1) : 31-41 ; มกราคม–เมษายน, 2554.
14.พิศสมัย บุญเลิศ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ และ ศุภวดี แถวเพีย. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 23(2) : 79-87) ; พฤษภาคม – สิงหาคม, 2559.