ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังส่วนล่าง ของบุคลากรสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ธีรศักดิ์ พาจันทร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • เพชรรัตน์ สุขสลุง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวเขา ตำบลมหาโพธิ อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

ปวดหลังส่วนล่าง, ความเสี่ยงทางการยศาสตร์, บุคลากรสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังส่วนล่างของบุคลากรสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 135 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยใช้เทคนิค Rapid Office Strain Assessment (ROSA) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Multiple Logistic Regression ที่ระดับ 0.05 นำเสนอค่า Adjusted Odds Ratio พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95% Confidence Interval (CI) และ p-value  ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.56 อายุเฉลี่ย 43.30 ปี (S.D.=10.12) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 53.33 ประสบการณ์ทำงาน 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 55.56  ความชุกของการปวดหลังส่วนล่าง ร้อยละ 54.07 (95%CI = 45.52–62.39) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังส่วนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ได้แก่  (1) การทำงานกับคอมพิวเตอร์เกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน (Adjusted OR=2.45, 95%CI: 1.10- 5.95; p-value=0.047) (2) การนั่งหลังค่อม (Adjusted OR=2.87, 95%CI: 1.24–6.58; p-value=0.013) (3) ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ (Adjusted OR=3.88, 95%CI: 1.10-13.97; p-value=0.038) และ (4) ความเครียด (Adjusted OR=3.10, 95%CI: 1.27-7.35; p-value=0.012) บุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่ปวดหลังส่วนล่าง ดังนั้น ควรปรับปรุงทั้งด้านพฤติกรรมเสี่ยงในการทำงานและออกแบบสถานีงานของบุคลากรให้เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์เพื่อป้องกันการปวดหลังส่วนล่างจากการทำงาน ต่อไป 

References

1. Deyo RA, Dworkin SF, Amtmann D, et al. Report of the National Institutes of Health Task Force on research standards for chronic low back pain. J Manipulative Physiol Ther. 2014; 37(7): 449–467.
2. Occupational Safety & Health Administration [OSHA]. Sewing and related procedures ergonomics. Retrieved February, 15, 2018, from http://www.osha.gov/SLTC/etools/sewing/pdf/ sewinggandrelateprocedurestask.pdf.
3. Occupational Health Clinics for Ontario Workers [OHCOW]. Work-related Musculoskeletal Disorders (WMSDs). Retrieved February, 1, 2018, from http://www.ohcow.on.ca/resoures/hand books/wrmd/WRMD htm.
4. ชนนท์ กองกมล. โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2561, จาก http://cpk-box.net/ Rworkshop/OccHealth_files/เกณฑ์วินิจฉัยโรคกระดูก กล้ามเนื้อและโครงร่าง.pdf.
5. Yamato T, Yuya U, Fumihiro N, & Rei O. The association between perceived stress and low back pain among eldercare workers in Japan. J Occup Environ Med. 2017; 59(8):765-767.
6. กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อาการปวดหลังส่วนล่างจากการทำงาน, สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2561, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/84.
7. Yang H, Haldeman S, Lun Lu M, Baker D. Low back pain prevalence and related workplace psychosocial risk factors: A study using data from the 2010 national health interview survey. J Manipulative Physiol Ther. 2016; 39(7): 459–472.
8. Hsieh YF, Bloch AD, & Larsen DM. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine. 1998; 17:1623-34.
9. Chan E, Hamid M, Din F, Ahmad R, Nadzalan A, & Hafiz E. Prevalence and factors associated with low back pain among Malaysian army personnel stationed in Klang Valley. Biomedical Human Kinetics. 2019; 11: 9-18.
10. Best, JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc. 1977.
11. Sonne M, Villalta DL, & Andrewsa DM. Development and evaluation of an office ergonomic risk checklist: ROSA-Rapid office strain assessment. Applied Ergonomics. 2012; 43(1):98-108.
12. กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินความเครียด ST-5. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2561, จาก http://www.dmh.go.th/test/qtest5.
13. Wong EN, & Callaghan JP. Changes in muscle activation patterns and subjective low back pain ratings during prolonged standing in response to an exercise intervention. Journal of Electromyography and Kinesiology. 2010; 20(6): 1125-1133.
14. Callaghan JP. & McGill SM, Callaghan JP, & McGill SM. Low back joint loading and kinematics during standing and unsupported sitting. Ergonomics. 2011; 44: 280-294.
15. ประโยชน์ บุญสินสุข. ความเมื่อยล้าจากการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2561, จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/3340.
16. Rahman ZA, & Atiya AS. Prevalence of work related upper limbs symptoms (WRULS) among office workers. Asia Pac J Public Health. 2009; 21(3): 252-258.
17. Casas AS, Patino MS, & Camargo DM. Association between the sitting posture and back pain in college students. Rev Univ Ind Santander Salud. 2016; 48(4): 446-454.
18. Sonne M. & Andrews DM. The Rapid Office Strain Assessment (ROSA): Validity of online worker self assessment and the relationship to worker discomfort. Occup Ergonomics. 2012; 10(4): 83-101.
19. จิตตาภรณ์ มงคลแก่นทราย, อุไรวรรณ หมัดอ่าดัม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในบุคลากรสำนักงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562; 28(1): 37-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-19