ทุนทางสังคมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการใช้กัญชาทางการแพทย์ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ภานุชนาถ อ่อนไกล วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

กัญชาทางการแพทย์, ทุนทางสังคม, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางสังคมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการใช้กัญชาทางการแพทย์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
(อสม.) ในจังหวัดขอนแก่น ประชากรคือ อสม.ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 33,161 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 337 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน มกราคม พ.ศ 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมการวิเคราะห์สำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสมการการถดถอยพหุโลจิสติก พร้อมช่วงเชื่อมั่น (95%CI) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 84.87 อายุเฉลี่ย 52.45 ปี (S.D.= 8.23) ด้านปัจจัยทุนทางสังคมรายรวม พบว่าอยู่ในระดับสูงร้อยละ 76.19 ด้านความรู้ในการใช้กัญชาทางการแพทย์ พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 41.84 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการใช้กัญชาทางการแพทย์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ (OR adjusted = 2.60 ; 95%CI 1.18 to 5.74: p-value 0.017)  และปัจจัยทุนทางสังคมด้านการมีส่วนร่วมดำเนินการและรับผิดชอบ ในระดับสูงและระดับปานกลาง ตามลำดับ(OR adjusted = 1.64 ; 95%CI 1.12 to 3.80: p-value =0.020 และ OR adjusted = 3.26 ; 95%CI 2.14 to 5.74: p-value =0.014 ตามลำดับ) ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการเพิ่มความรู้ในการใช้กัญชาทางการแพทย์ให้กับอสม. เช่น การเพิ่มช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์  เป็นต้น

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์[อินเทอร์เน็ต]. 2562[เข้าถึง เมื่อ 7 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://www.dms.moph.go.th/dms2559/download/Final_Guidance.pdf.
2. แพทยสภา. คำแนะนำสำหรับแพทย์การใช้กัญชาทางการแพทย์. แพทยสภาสาร; 2562 [เข้าถึง เมื่อ 29 พ.ค. 2563];1:[1-43]. เข้าถึงได้จากhttps://tmc.or.th/pdf/fact/guideline_cannabis_101062.pdf
3. อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล. การแพทย์แคนนาบินอยด์และกัญชาการแพทย์[อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 29 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก https://thaicam.go.th/wp-content/uploads/2019/08/การแพทย์แคนนาบินอยด์-และกัญชาการแพทย์.pdf
4. จุฬาพัฒน์ ช่างเกต. กฎหมายเกี่ยวกับกัญชา[บทความวิชาการ]. 2562 [เข้าถึง เมื่อ 8 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จากhttps://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2247
5. Intharaphan C, Ayuwat D, Laohasiriwong W. Social Capital for Healthy Public Policy Formulation by the Community in Northeastern Thailand. The International Journal of Interdisciplinary Social and Community Studies. 2017;12: 29-41.
6. Bourdieu, P. “The Forms of Capital.” Pp. 241–58 in Handbook of theory and research for the sociology of education, edited by J. G. Richardson. New York: Greenwood Press; 1986.
7. Coleman, J. S. Social Capital in the Creation of Human Capital. The American Journal of Sociology. 1988; 94, S95-S120
8. Putnam, Robert D. “The Prosperous American Prospect. 1993. 4(13): 35–42.
9. Rippon S, Beatte TK, Lungu K, Kumwenda S,Morse T. Social capital insights from Healthy Settings needs assessment in Malawi. PLoS One. 2018; 13(10): e0206156.
10. Majeed M, Ajaz T. Social Capital as a Determinant of Population Health Outcomes: A Global Perspective; 2020.
11. อรรัตน์ หวั่งประดิษฐ์, ระวีวรรณ ช่วยบำรุง, กรกฎ สินประจักษ์พล, และวนิดา ประเสริฐ. ผลการจัดชุดกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องยาต่อความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาของอาสาสมัคร สาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2558; 10(1): 87-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26