การประเมินคุณสมบัติทางกายภาพและการปนเปื้อนแบคทีเรียของน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุ ที่ปิดสนิทและน้ำแข็ง ที่วางจำหน่ายในจังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
คำสำคัญ:
การประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ, การปนเปื้อนแบคทีเรีย, น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท, น้ำแข็งบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณสมบัติทางกายภาพและการปนเปื้อนแบคทีเรียของน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทและน้ำแข็ง ที่วางจำหน่ายในจังหวัดมหาสารคาม เก็บตัวอย่างจากสถานที่ผลิตในจังหวัดมหาสารคาม แบ่งเป็นน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 129 ยี่ห้อ และน้ำแข็ง 13 ยี่ห้อ เก็บข้อมูลรายละเอียดบนฉลาก ตรวจสอบภาชนะบรรจุ วิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ คุณสมบัติทางเคมี และคุณสมบัติเกี่ยวกับจุลินทรีย์ ได้แก่ตรวจวัดการปนเปื้อนของ Coliform bacteria, Escherichia coli, Staphylococcus aureus และ Salmonella spp. โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ผลการวิจัยพบว่าตัวอยางนํ้าบริโภคและน้ำแข็งในภาพรวมผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 86.05 และ 61.54 (ตามลำดับ) รายละเอียดบนฉลากและภาชนะที่ใชบรรจุน้ำบริโภคและน้ำแข็ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 95.35 และ 61.54 (ตามลำดับ) คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของตัวอยางนํ้าบริโภคและน้ำแข็ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 100 คุณสมบัติเกี่ยวกับจุลินทรีย์ของนํ้าบริโภค ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 88.37 โดยพบ Coliform bacteria และ E. coli เกินค่ามาตรฐานร้อยละ 11.63 และ 0.77 (ตามลำดับ) คุณสมบัติเกี่ยวกับจุลินทรีย์ของนํ้าแข็ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 92.31 โดยพบ Coliform bacteria และ E. coli สูงกว่าค่ามาตรฐาน ร้อยละ 7.69 ทั้งนี้ตัวอยางนํ้าบริโภคและน้ำแข็งในการวิจัยนี้ไม่พบ S. aureus และ Salmonella spp. โดยสรุป ตัวอย่างน้ำในการวิจัยนี้บางส่วนไม่ผ่านมาตรฐานทางจุลชีววิทยา ดังนั้นเจ้าหน้าที่ต้องเพิ่มการเฝ้าระวังกระบวนการผลิต นอกจากนี้ ผู้จัดจำหน่ายและผู้บริโภคต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสอบ การรายงานและการปฏิเสธผลิตภัณฑ์ที่เป็นปัญหา ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะทำให้การบริโภคน้ำและน้ำแข็งของประชาชนมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
References
2. สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ, กรมอนามัย. คู่มือการปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำสำหรับสาธารณสุขอำเภอ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพิชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2556.
3. กาญจนา นวลชื่น. การจัดการความเสี่ยงการปนเปื้อนเชื้อของน้ำบริโภคในโรงเรียนจังหวัดอ่างทอง. วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. 2561; 9(1) : 10-19.
4. กองนวัตกรรมและการวิจัย, กรมควบคุมโรค. แผนงานวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พ.ศ.2562-2564. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2562.
5. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.[Homepage on the Internet]. นนทบุรี: 2562. [cited 2019 Feb 12]. อัตราป่วยโรคอุจจาระร่วงต่อประชากรแสนคน; Available from https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=Formatted/format_2.php&cat_id=7f9ab56b0f39fd053143ecc4f05354fc&id=309e77ea6f4c09faa9bcf75a8c9aee13
6. สุณิชา ชานวาทิก และคณะ. สถานการณ์การใช้ยาต้านจุลชีพและความรู้เรื่องยาต้านจุลชีพ: ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2560. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2561; 12(3): 420-436.
7. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. [Homepage on the Internet]. นนทบุรี: 2562. [cited 2019 Feb 12]. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำแข็งทั่วประเทศ. Available from http://www.dmsc.moph.go.th/dmscnew_old/news_detail.
php?cid=1&id=1078
8. ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม และเนตรนภา เจียระแม. สถานการณ์การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในน้ำดื่ม เครื่องดื่ม และภาชนะที่ให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2555; 5(3): 87-96.
9. อนุพงศ์ เพ็ญศรี และ ปิยะดา วชิรวงศกร. คุณภาพทางจุลชีววิทยาของน้ำดื่มบรรจุขวดขาวขุ่นที่วางจำหน่าย ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. The 4th Science Research Conference. 12-13 March 2012. Faculty of Science, Naresuan University.
10. สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ หทัยทิพย์ บรรเจิดจรัสเลิศ และวีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย. การประเมินคุณภาพของนํ้าดื่มบรรจุขวดชนิดพลาสติกใสที่จําหน่ายในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2557; 33(5): 454-459.
11. สุบัณฑิต นิ่มรัตน และวีรพงศ วุฒิพันธุชัย. การตรวจสอบคุณภาพของนํ้าดื่มบรรจุขวดที่จำหน่ายในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559; 9(3): 127-136.
12. ปิยะนุช จงสมัคร จุรีย์ เจริญธีรบูรณ์ และ สุนีย์ เตชะอาภรณ์กุล.การสำรวจความปลอดภัยด้านจุลินทรีย์ของน้ำแข็งบริโภคที่จำหน่ายในโรงอาหารและตลาดนัด มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์. 2557; 9(1) : 14-23.
13. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด, สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม. [Homepage on the Internet]. 2561. [cited 2019 Jan 22]. แผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคามพ.ศ. 2561 – 2565. Available from http://www.mahasarakham.go.th/mkweb/images/yut/plan2-63.pdf
14. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 61). 98 ร.จ. 52 ตอนที่ 157 (ฉบับพิเศษ แผนกราชกิจจาฯ); 2524.
15. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 2) (ฉบับที่ 135). 107 ร.จ. 3041 ตอนที่ 61 (แผนกราชกิจจาฯ); 2534.
16. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 3) (ฉบับที่ 220). ราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 118 ตอนพิเศษ 70ง; 2544.
17. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 4) (ฉบับที่ 256). ราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 119 ตอนพิเศษ 54ง; 2545.
18. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 5) (ฉบับที่ 284). ราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 122 ตอนพิเศษ 9ง; 2548.
19. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 6) (ฉบับที่ 316). ราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 127 ตอนพิเศษ 667ง; 2553.
20. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำแข็ง (ฉบับที่ 78). 101 ร.จ. 9 ตอนที่ 23 (ฉบับพิเศษ แผนกราชกิจจาฯ); 2527.
21. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำแข็ง (ฉบับที่ 2) (ฉบับที่ 137). 108 ร.จ. 4914 ตอนที่ 94 (ฉบับพิเศษ แผนกราชกิจจาฯ); 2534.
22. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำแข็ง (ฉบับที่ 3) (ฉบับที่ 254). ราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 119 ตอนพิเศษ 54ง; 2545.
23. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำแข็ง (ฉบับที่ 4) (ฉบับที่ 285). ราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 122 ตอนพิเศษ 9ง; 2548.
24. APHA, AWWA, WEF. Standard Methods for examination of water and wastewater. 22nd ed. Washington: American Public Health Association, 1360 pp. 2012.
25. ISO STANDARD. Water quality-Detection of Salmonella spp. ISO 19250; 2010.