การพัฒนากระบวนการเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานในร้านชำ
คำสำคัญ:
การพัฒนากระบวนการ, การเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน, ร้านชำบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนากระบวนการเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานในร้านชำในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองนา ตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคประชาชน และภาควิชาการ 78 คน และประชาชนทั่วไป 139 คน เก็บข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถาม สถิติเชิงพรรณนา และ pair t-test พบว่า ร้านชำที่เข้ารับการประเมินการตรวจผลิตภัณฑ์ในร้านชำทั้งหมด 45 ร้าน พบการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานในร้านชำ (ร้อยละ 60.0) อาหารผิดมาตรฐานในร้านชำประเด็นที่พบมากสุด คือไม่มี วัน เดือน ปี ที่หมดอายุ (ร้อยละ 80.0) รองลงมาไม่มีเลขสารบบอาหาร (อย.) (ร้อยละ 46.7) และไม่มี ชื่อ ที่อยู่ ผู้ผลิต (ร้อยละ 44.4) หลังการพัฒนากระบวน พบว่า ร้านชำพบการวางจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานในร้านชำ (ร้อยละ 28.9) อาหารผิดมาตรฐานในร้านชำประเด็นที่พบมากสุด คือ ไม่มี วัน เดือน ปี ที่หมดอายุ (ร้อยละ 44.4) รองลงมาไม่มีเลขสารบบอาหาร (ร้อยละ 17.78) และจากการพัฒนากระบวนการพบว่า ประชาชนมีความรู้เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) มีการดำเนินงานเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) จากผลดังกล่าวเกิดแนวทางการพัฒนากระบวนการเฝ้าระวังการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานในร้านชำ 5 องค์ประกอบ คือ ทีมตรวจเยี่ยมเสริมพลังร้านชำ การเพิ่มความรู้เรื่องอาหารที่ได้มาตรฐาน การแจกสื่อ เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน และการประเมินร้านชำจำหน่ายอาหารตามมาตรฐานโดยกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค
References
2. วิชัย พลสะทอน. การจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการ A - I -C ในการดำเนินงานคุ้มครอง ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารและยาของแกนนำ ครอบครัว อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
3. สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัยกระทรวงสาธารณสุข. สถิติการเรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศต่างๆ ประจำปีงบประมาณ 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
4. กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาค ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2561.
5. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองนา. แบบบันทึกการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (รพ.สต.) ปี 2561. อำเภอบ้านด่าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองนา; 2561.
6. คณะทำงานจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. แนวทางการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. นนทบุรี: อุษาการพิมพ์ 2563.
7. Kemmis, S & McTaggart, R. The Action Research Planer. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.
8. สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ครั้งที่ 6). มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์ – สารคามเปเปอร์; 2553.
9. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านด่าน. สถานการณ์การเฝ้าระวังสถานประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพในร้านชำ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่ปี 2556 – 2560. อำเภอบ้านด่าน; 2560.
10. เอกชัย งามแสง. ผลของการใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) ในการพัฒนาตลาดสดให้ผ่านเกณฑ์ขั้นพื้นฐานอาหารปลอดภัย. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2550
11. ศิริพล ภูปุย. การพัฒนาการดำเนินงานอาหารปลอดภัยใน ตลาดชุมชน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2558.