การศึกษาการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
คำสำคัญ:
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.), อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์
ในวัยรุ่นของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ด้วยวิธีแบบผสมผสาน (mixed methods) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากตัวแทนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จำนวน
563 แห่ง วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณา และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากพื้นที่ต้นแบบที่มีการดำเนินงานต่อเนื่องและเหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ จำนวน 2 แห่ง ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จากการศึกษา มีการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อเนื่องผ่านกลไกคณะกรรมการอำเภออนามัย
การเจริญพันธุ์และ พชอ. ร้อยละ 96.2 มีกิจกรรมที่ทำต่อเนื่อง คือ คลินิกวัยรุ่น ร้อยละ 50.1 รองลงมาคือ การรณรงค์ การอบรมให้ความรู้ หน่วยงานหลักที่ดำเนินงาน คือ โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) ร้อยละ 61.3 และ 55.4 มี พชอ. ให้ความสำคัญในประเด็นวัยรุ่นเป็นลำดับแรก ร้อยละ 41.0 ซึ่งความต่อเนื่องและประสิทธิผลของการดำเนินงานเกิดจาก 1) มีเจ้าหน้าที่ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มขับเคลื่อน 2) การเห็นความสำคัญของปัญหาในพื้นที่และการหนุนเสริมจากภายนอก
3) มีระบบการดำเนินงานที่ลงตัวในระบบการทำงานปกติ 4) สัมพันธภาพของภาคีเครือข่าย และ
5) การจัดทำข้อมูลในการกำกับติดตาม มีข้อเสนอแนะ สสอ. เป็นหน่วยถ่ายทอดนโยบายและประสานงานเพื่อการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ รพ. มีการจัดระบบบริการที่เข้าถึงได้ง่าย โรงเรียน บูรณาการลงในหลักสูตร การจัดกิจกรรมของโรงเรียน การสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยเหลือเด็ก การให้ความสำคัญของผู้บริหาร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ดำเนินงานทั้งเชิงรับและเชิงรุก เข้าถึงวัยรุ่น ครอบครัว ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สนับสนุนงบประมาณต่อเนื่อง การพัฒนา
สภาเด็กและเยาวชนให้เข้มแข็ง การจัดพื้นที่สร้างสรรค์ให้วัยรุ่น
References
2. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน
ปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ
25 มี.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/2QJRpTa
3. กองทุนประชากรแห่งสหประชาติ ประจำประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/38jvnOU
4. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. คู่มืออำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ ฉบับบูรณาการ. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2559. หน้า 6-10.
5. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. แผนภูมิแสดงผลการดำเนินงานอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 26 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://rh.anamai.moph.go.th/ download/all_file/drh/RHD_Chart.pdf
6. สำนักนายกรัฐมนตรี. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 54ง หน้า 1-7 (ลงวันที่ 9 มีนาคม 2561).
7. Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 1970; 30: p. 607-610.
8. ศรีเรือน ดีพูน และประเสริฐ ประสมรักษ์. “ประสิทธิผลของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพระดับอำเภอ ในพื้นที่นำร่อง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562; 7(2): 263-81.
9. มานพ ฉลาดธัญญกิจ. การดำเนินงานคณะกรรมการคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดสกลนคร [อินเทอร์เน็ต] 2561. [เข้าถึงเมื่อ 23 มี.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก
https://bit.ly/2VDIBRU.
10. ฤทัย วรรธนวินิจ. แนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบสุขภาพโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 23 มี.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3fQDIwV