ความรู้และเจตคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัววัด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • แก้วใจ มาลีลัย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปณวัตร กิ่งมาลา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สถาบันพระบรมราชชนก
  • ชาลินี พสุนนท์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
  • ธณัติฐา แก้วกันยา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใหม่สามัคคี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
  • วัชรพงษ์ เบญมาตย์ สถานีอนามัยบ้านห้วยตาเปอะเฉลิมพระเกียรติ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
  • อัมพิกา พ่อบาล โรงพยาบาลวังยาง อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม
  • วันเพ็ญ สมหอม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความรู้, เจตคติ, การดูแลสุขภาพช่องปาก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และเจตคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บัววัด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือ อสม. ในเขตพื้นที่บริการของ รพ.สต. บัววัด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 155 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้คือแบบวัดความรู้และแบบสอบถามเจตคติ ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.86 และ 0.70 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ KR-20  มีค่าเท่ากับ 0.71  แบบวัดเจตคติหาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธี Cronbachs Alpha  มีค่าเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแบบพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า อสม. มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากระดับปานกลาง ร้อยละ 68.30 และมีเจตคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากระดับปานกลาง ร้อยละ 75.50 องค์ความรู้พื้นฐานด้านความรู้และเจตคติสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดการส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้แก่ อสม. เช่น การให้โปรแกรมทันตสุขศึกษา เพื่อให้ อสม. เป็นตัวอย่างของบุคลากรทางสาธารณสุขที่มีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

References

1. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.
3. กรมอนามัย. เอกสารเกณฑ์การคัดเลือก อสม. ดีเด่น สาขาทันตสุขภาพ. นนทบุรี : สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย; 2560.
4. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520-2524. [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จากhttps://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?filename=develop_issue&nid=3779
5. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2560). คู่มือมาตรฐานงานสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2560.
6. วัลธินี ปิงแก้ว. สภาวะฟันผุและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพโดยผู้ปกครองของเด็กอายุ 4-5 ปี อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.
7. ปัญนี กิตติพงศ์พิทยา. การประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการ
ดูแลทันตสุขภาพในนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.
8. มนัสนันท์ ชัยประทาน และสมเดช พินิจสุนทร. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกัน โรคฟันผุของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขต อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2558; 3(3): 357-366.
9. อัญญารัตน์ สมตน. ประสิทธิผลโปรแกรมทันตสุขศึกษา โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองที่มีผลต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง ทักษะและการปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง; 2561.
10. อรุณรัตน์ ชื่นปลัด ยินดี พรหมศิริไพบูลย์ และวันเพ็ญ แก้วปาน. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการ
ประยุกต์ใช้ทฤษฎี แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและแรงสนับสนุนทางสังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของ อาสาสมัครสาธารณสุข. วารสารกรมการแพทย์. 2560; 42(4): 99-108.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26