การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • ณีรนุช วงค์เจริญ โรงพยาบาลปง
  • ทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบความมั่นคงและความปลอดภัยชายฝั่งเศรษฐกิจอ่าวไทยและอันดามัน
  • พิสิษฐ์ สมงาม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านร่องย้าง

คำสำคัญ:

การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เปรียบเทียบความแตกต่างของการเข้าถึงการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และความแตกต่างระหว่างระยะเวลาในการฟื้นฟูกับคะแนนการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ระยะเวลาดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 ถึงเดือนธันวาคม 2560 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ จำนวน 72 คน พัฒนารูปแบบโดยใช้วงจร PAOR ดังนี้ (1) การวางแผน เป็นการวิเคราะห์ปัญหา (2) การปฏิบัติการ เป็นการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (3) การสังเกตการณ์ เป็นขั้นทดลองใช้รูปแบบ (4) การสะท้อนผลการปฏิบัติ เป็นขั้นการประเมินและติดตามผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย บันทึกการเยี่ยมบ้าน และแบบประเมินคะแนนการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ ANOVA ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วยแนวทางการรับผู้ป่วย วิธีการเยี่ยมบ้าน ทีมสหสาขาวิชาชีพ และการดูแลรักษาต่อเนื่อง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการเยี่ยมบ้านเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 55.74 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 91.67 ในปี 2560 และการเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะเวลาในการฟื้นฟูกับ ADL พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสถิติที่ระดับ 0.05 โดยในช่วงเดือนที่ 1 มีความแตกต่างของคะแนนสูงที่สุดเท่ากับ 33.33 รองลงมาคือระหว่างเดือนที่ 1 กับเดือนที่ 3 มีความแตกต่างของคะแนนเท่ากับ 14.07 จากผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองควรได้รับการฟื้นฟูเร็วในช่วงเวลา 3 เดือนแรกจะส่งผลให้มีโอกาสฟื้นตัวสูง ลดภาวะแทรกซ้อน ลดความพิการได้มากที่สุด

References

1. ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร. ประสาทวิทยาทันยุค. กรุงเทพมหานคร: พราวเพรส 2002 จำกัด; 2553.
2. กรมควบคุมโรค. จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อปี 2559-2561. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563]; เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13653&tid=32&gid=1-020
3. บรรณฑวรรณ หรัญเคราะห์ สุพัตรา อังศุโรจน์กุล สิทธิ อติรัตนา พรพชร กิตติเพ็ญกุล, ลัดดา ลาภศิริอนันตกุล. คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับญาติที่ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: The sun group; 2554.
4. กุสุมา สุวรรณบูรณ์. การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2561; 14(3): 3-15.
5. นิพาพร ภิญโญศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551. 117 หน้า.
6. สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส จำกัด; 2558.
7. รัตนพร สายตรี ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ สมเกียรติยศ วรเดช. ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562; 5(2): 1-13.
8. โรงพยาบาลปง. สรุปผลการดำเนินงานโรงพยาบาลปง ประจำปีงบประมาณ 2560. (เอกสารไมตีพิมพ์); 2560.
9. Ugur HG, Erci B. The effect of home care for stroke patients and education of caregivers on the caregiver burden and quality of life. Acta Clin Croat 2019; 58(2): 321-32.
10. Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Australia: 1992.
11. เครือวัลย์ เปี่ยมบริบูรณ์ และจรูญลักษณ์ ป้องเจริญ. พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2552; 21(1): 4-21.
12. อรุณี ชาญชัย. ผลของการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อระดับความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย ระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน และระดับความพึงพอใจในการดูแลตามโปรแกรมของผู้ดูแล/ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระยอง.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2557; 25(1): 78-89.
13. วรรณิษา ประกายสี วรพจน์ พรหมสัตยพรต นิสากร วิบูลชัย. การพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน เทศบาลตาบลวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562; 5(1): 99-111.
14. เนติมา คูนีย์. การทบทวนวรรณกรรม สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี: สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26