ผลของการออกกำลังกายด้วยวิธีเต้นบาสโลบ ต่อการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • สานนท์ เลาหบุตร สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ภณิชชา จงสุภางค์กุล สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

เบาหวานชนิดที่ 2, การส่งเสริมสุขภาพ, การออกกำลังกาย, บาสโลบ

บทคัดย่อ

ประชากรไทยอายุเกิน 35 ปี ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 9.6 คนที่อายุเกิน 65 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 18.00 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และผลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มทดลองซึ่งเต้นบาสโลบและกลุ่มควบคุมซึ่งไม่เต้นบาสโลบในชมรมสุขภาพตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวนกลุ่มละ 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความรู้ การปฏิบัติตน และผลสุขภาพด้านโรคเบาหวาน ผลการศึกษาพบว่า  1. กลุ่มเต้นและไม่เต้นบาสโลบมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายและโรคเบาหวานแตกต่างกัน 2. กลุ่มเต้นและไม่เต้นบาสโลบมีการปฏิบัติตนป้องกันควบคุมโรคเบาหวานแตกต่างกันเล็กน้อย 3. การออกกำลังกายด้วยวิธีเต้นบาสโลบมีผลต่อสุขภาพทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีสุขภาพดีขึ้น 4. ผลการทดสอบค่าสถิติด้วย t – test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % พบว่า 1) การเต้นบาสโลบไม่มีผลต่อการเกิดความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายและโรคเบาหวาน 2) การเต้นบาสโลบมีผลต่อการเกิดการปฏิบัติตนป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน (p – Value < 0.05) 3) ผลสุขภาพ (1) ค่าน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar; FBS) (2) ค่าน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดง (HbA1C)  (3) ค่า Systolic (mm.Hg) (4) ค่า Diastolic (mm.Hg) (5) Pulse  Pressure (mm.Hg) (6) ค่าระดับความเครียด และ (7) ภาวะสุขภาพทั่วไป ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % (p – Value < 0.05) สรุปได้ว่า การเต้นบาสโลบมีผลต่อการเกิดสุขภาพที่ดีขึ้น  

References

1. เจาะลึกระบบสุขภาพ. สถานการณ์โรคเบาหวาน ปี พ.ศ. 2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 4 ธ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18054.
2. สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2558 [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 14 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก:www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2015/aesr2558/Part%201/11/diabetes.pdf.
3. นิติ บุญแก้ว, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจภายในกับพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร 2558; 42:84-94.
4. เยี่ยม คงเรืองราช, ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์, นาดา ลัคนหทัย. ผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อน หมอลำกลอนต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร 2555; 39:105-116.
5. แบบสรุปผลการดำเนินงานตามประเด็นตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ ปีงบประมาณ2561 จังหวัดราชบุรี เขตบริการสุขภาพที่ 5 รอบที่ 1 วันที่ 25 – 26 มกราคม 2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/DELL/Downloads/DM-HT.pdf.
6. ชินโชติ ทองตัน และจุฬาภรณ์ โสตะ. ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ที่มีต่อความแข็งแรงของขาและการทรงตัวในผู้สูงอายุ. วารสารกรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุขภาพดี 2561; มกราคม – มีนาคม: 33 – 42. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: www.advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26