การประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนและชุมชนต้นแบบควบคุมป้องกันโรคหนอนพยาธิ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • วิภาพร ทิพย์อามาตย์ วิชาเอกบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อารยา ประเสริฐชัย วิชาเอกบริหารสาธารณสุข สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ธีระวุธ ธรรมกุล วิชาเอกบริหารสาธารณสุข สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การประเมินผล, การควบคุมป้องกันโรคหนอนพยาธิ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงประเมินผลนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทโครงการ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงานและประเมินผลผลิตโรงเรียนและชุมชนต้นแบบควบคุมป้องกันโรคหนอนพยาธิ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน และ 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโรงเรียนและชุมชนต้นแบบควบคุมป้องกันโรคหนอนพยาธิ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน  ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ประสานงาน ผู้บริหาร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ ป้องกันโรคหนอนพยาธิ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน  จำนวน 90 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาวิจัยการประเมินตามรูปแบบ CIPP Model พบว่า 1) ด้านบริบทโครงการ พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด  =4.12 2) ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  = 3.70 3) ด้านกระบวนการดำเนินงานภาพรวมอยู่ในระดับมาก  =4.05  4) ด้านผลผลิต ประกอบด้วย ปัจจัยด้านผลผลิตของโครงการมีความเหมาะสม ในระดับมาก  =4.12 และจากการศึกษาพบว่ามีปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน ได้แก่ปัญหาด้านการสื่อสารภาษาท้องถิ่น อุปกรณ์เครื่องจุลทรรศน์ไม่เพียงพอ และจำนวนบุคลากรที่สามารถตรวจหาไข่หนอนพยาธิมีน้อย

Author Biography

วิภาพร ทิพย์อามาตย์, วิชาเอกบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การวิจัยเชิงประเมินผลนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทโครงการ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงานและประเมินผลผลิตโรงเรียนและชุมชนต้นแบบควบคุมป้องกันโรคหนอนพยาธิ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน และ 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโรงเรียนและชุมชนต้นแบบควบคุมป้องกันโรคหนอนพยาธิ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน  ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ประสานงาน ผู้บริหาร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ ป้องกันโรคหนอนพยาธิ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน  จำนวน 90 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาวิจัยการประเมินตามรูปแบบ CIPP Model พบว่า 1) ด้านบริบทโครงการ พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด  =4.12 2) ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  = 3.70 3) ด้านกระบวนการดำเนินงานภาพรวมอยู่ในระดับมาก  =4.05  4) ด้านผลผลิต ประกอบด้วย ปัจจัยด้านผลผลิตของโครงการมีความเหมาะสม ในระดับมาก  =4.12 และจากการศึกษาพบว่ามีปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน ได้แก่ปัญหาด้านการสื่อสารภาษาท้องถิ่น อุปกรณ์เครื่องจุลทรรศน์ไม่เพียงพอ และจำนวนบุคลากรที่สามารถตรวจหาไข่หนอนพยาธิมีน้อย

References

1. สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชเครื่องชี้วัดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560–2569; หน้า 2.
2. เกษตร ปะทิ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหนอนพยาธิของประชาชนอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน พ.ศ.2559. วารสารสุขภาพภาคประชาชน. 2559; 12(4) ; หน้า 36-42.
3. Andrea Gazzinelli. A Research Agenda for Helminth Diseases of Humans: Social Ecology, Environmental Determinants, and Health Systems. PLoS Negl Trop Dis. 2010; 4(5): e681. Published online 2010 May 11. doi:10.1371/journal.pntd.0000681 )
4. อภิรมย์ อาทิตย์ตั้ง. การศึกษากระบวนการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคหนอนพยาธิที่ติดต่อทางดิน ในชุมชนชาวไทยภูเขา กรณีศึกษาหมู่บ้านพลังแท ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่,วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ คณะทรัพยากรชีวภาพละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี; 2554.
5. นิรันดร บุญเกิด. ความชุกและพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิในทางเดินอาหารของนักเรียนศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “ แม่ฟ้าหลวง” อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่; 2553.



6. แจ่มจันทร์ รีละชาติ. การพัฒนาโปรแกรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านดินในเด็กก่อนวัยเรียน ชาวไทยภูเขาและผู้ปกครอง ในอําเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่.(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,มหาสารคาม; 2561.
7. บุญธนากร พรหมภักดี และคณะ. บริบททางสังคมและวิถีชุมชนของชาวบ้านแถบลุ่มน้ำชีกับการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ในตับ.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น; 2556.
8. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน. สรุปผลการดำเนินงานควบคุมโรคหนอนพยาธิ ในนักเรียนและประชาชน : เอกสารเย็บเล่ม; 2559.
9. กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ปรสิตหนอนพยาธิทางการแพทย์
ทฤษฎีและปฏิบัติการ (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี:โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.
10. วรยุทธ นาคอ้าย. ประสิทธิผลของแผนการเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตในการป้องกันโรคพยาธิปากขอของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน.(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัญฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา). มหาวิทยาลัยมหิดล,นครปฐม; 2550.
11.วรยุทธ นาคอ้าย. รูปแบบกระบวนการพัฒนาโรงเรียนและชุมชนต้นแบบ กรณีศึกษาชุมชนพื้นที่ตามโครงการพระราชดำริ. กรุงเทพมหานคร:กรมควบคุมโรค; 2559.
12. วัชรพงษ์ เรือนคำ และคณะ.ผลของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคหนอนพยาธิของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำาหมู่บ้าน :กรณีศึกษาตำบลนางและอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย .วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 2557; 6 (3): หน้า 40-60.
13. ศิวพร ผ่านภูวงษ์. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง โรคหนอนพยาธิที่สําคัญในประเทศไทยสําหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3บัณฑิตวิทยาลัย.(สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,กรุงเทพฯ; 2550.
14. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. คู่มือปฏิบัติงานโครงการควบคุมโรคหนอนพยาธิในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี .สำนักพิมพ์กรมควบคุมโรค; 2559.
15. Author links open overlay panelS.OAsaolua. Soil-Transmitted Helminth Infection and Nutritional Status Among Urban Slum Children in Kenya. The American Journal of Tropical Medicine and Hygiene. 2014; 90 (2): p. 299 – 305.
16. Stefanie Knopp. Patterns and Risk Factors of Helminthiasis and Anemia in a Rural and a Peri-urban Community in Zanzibar, in the Context of Helminth Control Programs. PLoS Negl Trop Dis. 2010; 4(5): p 681. Published online 2010 May 11. doi: 10.1371/journal.pntd.0000681

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26