รูปแบบการคัดกรองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานตามแนวทางประชาสังคม จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • ยอดลักษ์ สัยลังกา โรงพยาบาลผาขาว
  • บุญมา สุนทราวิรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองหิน
  • รัตติกรณ์ มูลเครือคำ รพ.หนองหิน
  • อุบลรัตน์ มาศนาเรียง รพ.หนองหิน

คำสำคัญ:

รูปแบบการคัดกรองโรคเบาหวาน, แนวทางประชาสังคม, การป้องกันโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการคัดกรองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานตามแนวทางประชาสังคม กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบกลุ่มหลายขั้นตอนจากประชาชนทั่วไปที่มาคัดกรองเบาหวาน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึก เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้สถิติ Kruskal-Wallis Test และ One-Way ANOVA ยืนยันความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ Turkey เสนอผลต่อภาคประชาสังคมในเวทีสนทนากลุ่มเพื่อสังเคราะห์มุมมองประชาสังคม เก็บข้อมูลระหว่างตุลาคม 2562 – เมษายน 2563 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 386 คนแบ่งเป็น 3 กลุ่ม (อายุ 15-34 ปี, อายุ 35-60 ปี และอายุ >60 ปี) มีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายแตกต่างกัน (F=10.145, p-value< 0.001) ปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดมีความแตกต่างกัน (F=15.995, p-value< 0.001) และความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุ (Chi=46.728, p-value< 0.001) รูปแบบการคัดกรองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานตามแนวทางประชาสังคม เป็นการรวมจากหลายรูปแบบเพิ่มความ ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุและเพิ่มความถี่การคัดกรองสำหรับกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยรายใหม่ รวมถึงกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตรายบุคคล    

References

1. International Diabetes Federation: IDF. 2020. Achieve from: https://www.idf.org in 10/04/2020.
2. International Diabetes Federation: IDF. 2020. Achieve from: https://www.Diabetesatlas.org/en/
sections/worldwide-toll-of-diabetes.html.in 10/04/2020.
3. World Health Organization: WHO. 2019. Achieve from: https://www.who.int in 10/04/2020
4. กระทรวงสาธารณสุข; 2562. สืบค้นจาก: http://www.moph.go.th/hdc/ เมื่อ 15 กันยายน 2562
5. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 2.
ปทุมธานี. บริษัทร่มเย็นมีเดียจำกัด; 2560.
6. อรทัย เขียวเจริญ และคณะ. วิธีวิเคราะห์ต้นทุนรายโรคสำหรับประเทศไทย: วิธีต้นทุนจุลภาค; 2563.
สืบค้นจาก คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. http://kb.hsri.or.th
7. โกมาศ จึงเสถียรทรัพย์. “แนวคิดประชาคม การมีส่วนร่วมชุมชนและความรุนแรงต่อผู้หญิง”
ศักยภาพประชาคมในการจัดการปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก. กรุงเทพมหานคร. มปส; 2546.
8. ธราพงษ์ กัปโก และคณะ. การคัดกรองเพื่อป้องกันอุบัติการณ์โรคเบาหวานที่มีประสิทธิผล: มุมมองประชาสังคม
จังหวัดเลย ประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน.2562; 5(3): 107-118.
9. ฉวีวรรณ บุญสุยา. ประมวลสาระชุดวิชาสถิติและระเบียบวิธีวิจัยในงานสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช. นนทบุรี: โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2544.
10. ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้งติ้ง; 2552.
11. กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; 2562. สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/th/site/indexเมื่อ 20 มีนาคม 2562
12. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. ฐานข้อมูล Health Data Centre: HDC; 2562. สืบค้นจาก: https://www.lo.moph.go.th/main/ เมื่อ 20 มีนาคม 2562.
13. ไพบูรณ์ โล่ห์สุนทรและสมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547. สืบค้นจาก: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25700.
14. มณี วชิรรัตน์วงศ์. วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
สืบค้นจาก : http://cuir.car.chula.ac.th /handle/123456789/53145.
15. กรมควบคุมโรค. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus ปี 2563. นนทบุรี. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
16. เพชรรัตน์ เกิดดอนแฝก และคณะ. การรับรู้ความเสี่ยง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานตามเกณฑ์และวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพในญาติสายตรงลำดับแรกของผู้ที่เป็นเบาหวาน. Rama Nurse Journal. 2553; 16(2): 169-184.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26