ารมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันอาการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนบ้านหนองคู อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • จักรพงษ์ พระสุรัตน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วิรัติ ปานศิลา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วรพจน์ พรหมสัตยพรต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภท, เทคโนโลยีการมีส่วนร่วม, รูปแบบการป้องกันอาการกำเริบซ้ำ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันอาการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนบ้านหนองคู ตำบลนาเวียง อำเภอเสนางนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 36 คน ประกอบด้วยกลุ่มญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 12 คน กลุ่มเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชน จำนวน 24 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย การจดบันทึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม นำข้อมูลจากการเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันอาการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน มี 7 กิจกรรม ได้แก่ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ 2) คัดเลือกผู้ร่วมวิจัยและแต่งตั้งคณะทำงาน 3) เก็บรวบรวมข้อมูล 4) การวางแผนและจัดทำแผน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ตามหลักเทคโนโลยีการมีส่วนร่วม 5) นำแผนไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ โครงการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน และโครงการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน 6) ติดตามผลการดำเนินงาน 7) สรุปผล ถอดบทเรียน จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสะท้อนปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน หลังดำเนินการ พบว่า กลุ่มญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท และกลุ่มเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมทุกกิจกรรม ร่วมรับฟัง แสดงความคิดเห็น เสนอตัวรับผิดชอบงาน ร่วมปฏิบัติ และร่วมสรุปและประเมินผล ทั้งกลุ่มญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วย และกลุ่มสุขภาพจิตชุมชน มีระดับทัศนคติ ระดับความรู้ และระดับการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน มากกว่าก่อนดำเนินการ ซึ่งทำให้เกิดรูปแบบที่เหมาะสมในป้องกันอาการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ข้อเสนอแนะการวิจัย ควรนำกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักเทคโนโลยีการมีส่วนร่วม ไปประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรม เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน

References

1. วัฒนะ แก้วมะไฟ. การบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยจิตเภท ในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.
2. นาถนภา วงษ์ศีล. การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มป่วยซ้ำและไม่ป่วยซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทไทยมุสลิม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
3. มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์พิมพ์; 2548.

4. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนสำหรับบุคคลากรหน่วยบริการปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์; 2559.
5. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. รายงานจำนวนผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี; 2561.
6. วิรัติ ปานศิลา และคณะ. (2551). รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน ในการบริโภคอาหารของชาวอีสาน. มหาวิทยาลัยสารคาม, 2551.
7. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : สำนักงาน, 2550.
6. เยาวภา ไตรพฤกษชาติ. การเสริมสร้างแรงจูงใจในการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยโรคจิตเภทโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554
7. อรสา วัฒนศิริ และเสาวภา ศรีภูสิตโต. การพัฒนากระบวนการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเภทโดยสหสาขาและเครือข่ายผู้ดูแล โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารกองการพยาบาล, 2556: 40(1),67-83.
8. สุนทรีภรณ์ ทองไสย. การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในบริบทสังคมไทยอย่างยั่งยืน. วารสารกองการพยาบาล, 2558: 42(3), 159-165.
9. Dale, Edgar. Audio-Visual Methods in Teaching. 3 Ed. New York: The Dryden Press Holt, Rineheart and Winston. Inc; 1996.
10. ปานชีวา ณ หนองคาย. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ในจังหวัดอุดรธานี. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.
11. ศักรินทร์ ทองภูธรณ์. ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-26