ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • สมโภช บุญวัน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยกระเจา อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี
  • สมโภช รติโอฬาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วรางคณา จันทร์คง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ความสุขในการทำงาน, บุคลากรสาธารณสุข, ปัจจัยด้านคุณลักษณะประชากร, ปัจจัยด้านคุณลักษณะงาน, ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ความสุขในการทำงาน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลกับความสุขในการทำงาน 3) ความแตกต่างของระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านคุณลักษณะงานและปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในกลุ่มที่มีความสุขแตกต่างกัน และ 4) ปัจจัยด้านคุณลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่เหมาะสมกับความสุขในการทำงานของบุคลากร ศึกษาวิจัย 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิการประเมินความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ปี พ.ศ. 2562 จำนวน 867 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ได้จำนวน 318 คน และระยะที่ 2 ศึกษาปัจจัยอื่นที่เหมาะสมกับระดับความสุขของบุคลากรสาธารณสุข สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 20 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบไคสแควร์ และทดสอบ แมน - วิทนีย์ ยู ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรสาธารณสุขมีความสุขเฉลี่ยทั้ง 9 มิติอยู่ในระดับมีความสุข โดยมิติน้ำใจดีมีค่าเฉลี่ยความสุขสูงที่สุดและอยู่ในระดับมีความสุขมาก 2) ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสุข ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส ช่วงวัย ระดับการศึกษา การตั้งครรภ์ การมีบุตร เวลาการทำงานเวร/กะ ระยะเวลาที่ทำงานในองค์กรปัจจุบัน รายได้  ระดับตำแหน่ง และประเภทการจ้าง 3) ความคิดเห็นต่อปัจจัยยด้านคุณลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานของบุคลากรในกลุ่มที่มีความสุขแตกต่างกัน พบว่ามีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และ 4) ปัจจัยด้านคุณลักษณะงานของแฮคแมนและโอลแฮมและปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานไวตามินโมเดลมีความเหมาะสมกับความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ผู้บริหารหน่วยงานควรส่งเสริมความสุขในการทำงานด้วยการให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านต่างๆ จากการวิจัยนี้ ที่ทำให้บุคลากรมีความสุข ควรศึกษาสถานการณ์ความสุขของบุคลากรอย่างสม่ำเสมอและศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานที่บ้าน (Work from Home) จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19

References

Chadi, A., & Hetschko, C. The magic of the new: How job changes affect job satisfaction. Journal of Economics & Management Strategy, 2018; 27(1), 23-39.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต). งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข. Forth Printed.Bangkok: Amarin Dhamma Priting, 2560.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2552.

ธีรวุฒิ เอกะกลุ. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร.อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี, 2543.

อภิศฎา แก้วมีศรี. ความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับปฐมภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ, 2556.

กรแก้ว ถิรพงษ์สวัสดิ์ และจันทร์ธรา สมตัว. การสำรวจสุขภาวะบุคลากร ศูนย์อนามัยที่ 6 ปีงบประมาณ 2556, 2556.

ฐิตารีย์ ยงค์ประวัติ. ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มวัยและสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจในการทำงาน กับความสุขในการทำงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 2559;17(1), 148-155.

ภาวิน ชินะโชติ ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานก่อนวัยเกษียณอายุ ในอุตสาหกรรม จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 2561; 12(2) (พฤษภาคม -สิงหาคม).

ปรียนุช ชัยกองเกียรติ. ความสัมพันธ์ระหว่างสมดุลชีวิตกับการทำงาน ดัชนีความสุขคนทำงานกับความผูกพันในองค์กร ของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 2562; 20(2) (พฤษภาคม–สิงหาคม).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-12