รูปแบบการจัดการคุณภาพคลินิกหมอครอบครัวโดยกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อเป็นคลินิกหมอครอบครัวต้นแบบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสว่าง ตำบลศรีสงคราม อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • ธนะสิทธิ์ รุ่งศิรรัฐพงษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สงครามชัยย์ ลีทองดีศกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กฤษณ์ ขุนลึก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, คลินิกหมอครอบครัว

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการคุณภาพคลินิกหมอครอบครัวโดยกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเป็นคลินิกหมอครอบครัวต้นแบบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสว่าง ตำบลศรีสงคราม  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย  กลุ่มเป้าหมาย  คือ  ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการคุณภาพของคลินิกหมอครอบครัวโดยคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคลินิกหมอครอบครัว  จำนวน 50 คน  เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยแบบสอบถามที่สร้างขึ้น  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนาด้วย Paired t-test dependent  และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า  ความพึงพอใจในการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ของกลุ่มเป้าหมายในระยะก่อนและหลังการพัฒนามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้วยระดับความเชื่อมั่น  95% การดำเนินงานครั้งนี้ทำให้ได้รูปแบบเบื้องต้นในการพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพคลินิกหมอครอบครัวโดยกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเป็นคลินิกหมอครอบครัวต้นแบบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสว่าง ตำบลศรีสงคราม  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย  โดยกลไกการมีส่วนร่วมของทีมคลินิกหมอครอบครัว สรุป ความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพคลินิกหมอครอบครัวโดยกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเป็นคลินิกหมอครอบครัวต้นแบบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสว่าง เกิดขึ้นได้จากกลไกการมีส่วนร่วมของทีมคลินิกหมอครอบครัวทุกภาคส่วน ทั้งการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีส่วนร่วมในการดำเนินการ มีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และมีส่วนร่วมในการประเมินผล

References

Ministry of public health Strategy and planning division. Operation guideline of primary care cluster service unit. Bangkok, 2559. (in Thai)

Loei provincial health office. strategic plan and indicator conferrence of fiscal year 2561. Loei, 2560. (in Thai)

Wang Saphung district public health office. Development of primary health care and primary cluster care mission of fiscal year 2561. Loei, 2560. (in Thai)

Kemmis, S & McTaggart, R. The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin

University; 1988.

Kamnueng Singh-Aiem. The Model People’s Participation in the Administration of the Local Administrative Organization in Phuket Province Based on the Good Governance Principles. Phuket Rajabhat University Academic journal; 2560, 13(1), 343-344. (in Thai)

Kanuengnij Sirisombun, Chanta Juntasen and Duangta Saransom. Factors affecting village fund management in amphoe Si Khiu, Nakhon Ratchasima province. Master of Business Administration (Business Administration) The graduate school Valaya Alongkorn Rajabhat university; 2552.

Narumon Boonsopin, Warangkana Chankong and Chawthip Boromtanarat. The Development Model of Family Care Team in Caring of the Home-Bound Elderly in Wang Swab Subdistrict, Phu Pha Man District, Khon Kaen Province. Master of Public Health Program in Public Health Administration, Sukhothai Thammathirat Open University; 2560.

Sompon Wornsoy. (Factors Related to Operations of Sub-District Family Doctor’s Health Team Networks in Nam Pat District, Uttaradit Province. Master of Public Health School of Health Sciences, Sukhothai Thammathirat Open University; 2560.

Panida Taengsunthai. The Development of an Elderly Health Care Model by the Family Care Team at Nonmueang Sub-district, Khamsakaesang District, Nakhonratchasima Province. The office of disease prevention and control 9th Nakhon Ratchasima journal. 2561 : 24(1) DPC 9 J 2018. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-12