การพัฒนาพาราฟินน้ำมันสหัศธาราบรรเทาอาการชามือ สำหรับผู้รับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลหนองโสน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ปัทมา ทองธรรมชาติ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • อรุณี ยันตรปกรณ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • ธัญทรัพย์ พันธุ์โพธิ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • มัลลิกา เกิดสา วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • นภชา สิงห์วีรธรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

คำสำคัญ:

คำสำคัญ  พาราฟิน  น้ำมันสหัศธารา  อาการชามือ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัญหาการบรรเทาอาการชามือของผู้รับบริการ พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และประเมินประสิทธิผลและความพึงพอใจต่อการใช้ผลิตภัณฑ์พาราฟินน้ำมันสหัศธาราบรรเทาอาการชามือ ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นการศึกษาสถานการณ์และปัญหาการบรรเทาอาการชามือของผู้รับบริการ 2) ขั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์พาราฟินน้ำมันสหัศธาราบรรเทาอาการชามือสำหรับผู้รับบริการและ 3) ขั้นประเมินประสิทธิผลและความพึงพอใจต่อการใช้ผลิตภัณฑ์พาราฟินน้ำมันสหัศธาราบรรเทาอาการชามือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้ที่ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกจากการกดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลหนองโสน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 60 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองการใช้ผลิตภัณฑ์พาราฟินผสมน้ำมันสหัศธาราจำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมการใช้ผลิตภัณฑ์พาราฟินบรรเทาอาการชามือ จำนวน 30 คน ใช้แบบประเมินอาการชามือ Semmes-Weinstein วิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วย Independent Sample t-test และความแตกต่างภายในกลุ่มด้วย Paired Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างพบว่าผู้มีอาการชามือส่วนใหญ่จะบรรเทาอาการชามือโดยการแช่น้ำอุ่นและการทาน้ำมัน ซึ่งจะควบคุมอุณหภูมิได้ยากจะทำให้เหนียวเหนอะหนะ จึงมีความเห็นว่าอยากได้ผลิตภัณฑ์พาราฟินผสมน้ำมันสหัศธาราที่สะดวกต่อการใช้งานและไม่เหนียวเหนอะหนะ 2) มีการพัฒนาพาราฟินผสมกับน้ำมันสหัศธาราที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการมือชา 3) มีผลการเปรียบเทียบระดับอาการชามือหลังการใช้ผลิตภัณฑ์ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มทดลอง ต่อการใช้ผลิตภัณฑ์พาราฟินน้ำมันสหัศธารา พบว่าระดับความพึงพอใจของโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.31) การผสมน้ำมันสหัศธาราลงในพาราฟินเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของพาราฟินให้มีฤทธ์ในการลดการอักเสบและส่งผลดีต่อการบรรเทาอาการชามือ

References

ประภาพร กองทองดี, รัฐไท พรเจริญ และชาคร ผาสุวรรณ. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อแขนและข้อมือ. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2556; 4(2), 68-79 สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/ index.php/ajnu/article/download/25999/22046/

กนกอร บุญพิทักษ์. นิ้วล็อกกับโรคของกระดูกและเอ็น. กรุงเทพฯ: เพชรประกาย; 2555.

ปรัชญพร คําเมืองลือ. เครื่องมือทางกายภาพพบำบัด (Physical modality) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 26 กรกฎาคม 2563]; เข้าถึงได้จาก https://w1.med.cmu.ac.th/rehab/images/Study_guide/10_1%20Physical%20modalities_PK.pdf

ธวัชชัย กมลธรรม. สรรพคุณตำรับสหัสธารา. 2556. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 26 กรกฎาคม 2563]; เข้าถึงได้จาก http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_herbal/news_detail.php?cat=l&id=66

กระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คู่มือการใช้ยาแผนไทยและยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. (2555). น้ำมันไพลทอดต่างจากน้ำมันไพลกลั่นอย่างไร. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 29 ตุลาคม 2562]; เข้าถึงได้จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/109/น้ำมันไพลทอดต่างจากน้ำมันไพลกลั่นอย่างไร

Cohen J. Statistical power for the behavioral sciences. 2nd ed.New York Academic Press.; 1977.

ทิพยรัตน์ ศฤงคารินกุล และนวพร ชัชวาลพาณิชย์. ค่ามาตรฐานของการตรวจวัดประสาทรับรู้แบบสัมผัสในคนไทยที่มีสุขภาพดี. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2551; 18(1), 24-28.

Ordahan, B., & Karahan, A. Y. Efficacy of paraffin wax bath for carpal tunnel syndrome; 2017.

Metin in al Ordahan, B., & Karahan, A. Y. Efficacy of paraffin wax bath for carpal tunnel syndrome; 2017.

Pinsornsak, P., Kanokkangsadal, P., & Itharat, A. The Clinical Efficacy and Safety of the Sahastara Remedy versus Diclofenac in the Treatment of Osteoarthritis of the Knee: A Double-Blind, Randomized, and Controlled Trial. Evidence-based complementary and alternative medicine : eCAM, 2015, 1-8. doi: 10.1155/2015/103046 a randomized comparative study. International journal of biometeorology, 61(12), 2175–2181. doi: 10.1007/s00484-017-1422-1

Kakatum, N., Jaiarree, N., Makchucit, S., & Itharat, A. (2012). Antioxidant and anti-inflammatory activities of Thai medicinal plants in Sahasthara remedy for muscle pain treatment. Journal of the Medical Association of Thailand. 2012; 120–126.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-22